เนื้อหาวันที่ : 2016-12-26 13:58:11 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 3023 views

ดร.ชิตพงษ์ อัยสานนท์

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ayasanond@hotmail.com

 

 

หากพูดถึงธุรกิจการท่องเที่ยวของบ้านเรา ถือว่าไม่น้อยหน้าประเทศอื่น ๆ เลย เนื่องมาจากการที่ประเทศไทยมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งโบราณสถาน ดินแดนประวัติศาสตร์ แหล่งธรรมชาติ ชุมชนและศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ อีกทั้งยังมีรูปแบบวิธีเที่ยวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร การท่องเที่ยวผจญภัยกับการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เรียนรู้วิถีชีวิตพื้นถิ่น หรือการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเทศกาลงานประเพณี

 

     ความโดดเด่นมีเอกลักษณ์เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่สร้างประสบการณ์น่าจดจํารําลึกให้กับนักท่องเที่ยวที่ก้าวเข้าไปพบกับความงดงามของแหล่งท่องเที่ยว และประเพณีไทยที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจากสถิติตัวเลขของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยของเราอยู่ในอันดับต้น ๆ จากข้อมูลและสถิติของ UNWTO และ PATA จะเห็นได้ว่าอัตราการเติบโตของนักเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกมีการขยายเติบโตขึ้นทุกปี โดยที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด และกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเติบโตในภูมิภาคนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทยและอินโดนีเซีย

 

 

(จุดหมายเดินทางเติบโตเร็วที่สุดห้าอันดับแรกระหว่างปี ค.ศ.2014-2018 ที่มา: PATA, 2014
Note: AAGR refers to the average annual growth rate, expressed as a percentage (%))

 

 

(จำนวนนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างปี ค.ศ. 2012-2018, ที่มา: PATA, 2014)

 

          สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทย จากข้อมูลของ กรมการท่องเที่ยว (2557) พบว่ามีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 19.60% เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2555-2556 และมีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 26.7 ล้านคนในปี 2556 ซึ่งอาจมีปัจจัยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเติบโตเช่น การขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นหลังจากฟื้นฟูจากเหตุการณ์อุทกภัย การปราศจากความขัดแย้งทางการเมือง หรือพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั้งชาวเอเชียหรือชาวยุโรปที่ชื่นชอบในการเดินทางมายังภูมิภาคนี้ รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ทำให้มาตรการการเดินทางข้ามประเทศสะดวกมากขึ้น 

 

 

(จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยปี 2552-2556

ที่มา: สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกรมการท่องเที่ยว 2557)

 

          จากตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเงินตราเข้าสู่ประเทศ ด้วยเม็ดเงินจำนวนหลายล้านๆบาทต่อปี แสดงให้เห็นว่าเรามี Product และ Service ที่นับว่าไม่เป็นรองใคร จึงเป็นที่มาของคำถามในการเขียนบทความในครั้งนี้ “กับคำว่า โลจิสติกส์ท่องเที่ยว (Tourism Logistics) ของบ้านเรา…ถึงไหนแล้ว” แล้วพร้อมที่จะเสนอขายให้ได้อย่างยั่งยืน ?

           

          โลจิสติกส์ท่องเที่ยว คือ “การจัดการประสานงานระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ (Activities) เพื่อทำให้การไหลของนักท่องเที่ยว (Physical Flow) จากต้นทางไปสู่ปลายทางโดยไม่มีข้อผิดพลาด และยังทำให้นักท่องเที่ยวได้รับความพึงพอใจสูงสุด” การขนส่งนักท่องเที่ยวเป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งในโลจิสติกส์ท่องเที่ยว การขนส่งจะเกิดขึ้น ณ ช่วงหนึ่ง ๆ เท่านั้น ไม่ใช่ตลอดเส้นทาง เช่น กิจกรรมการขนส่งด้วยเครื่องบิน รถโดยสาร กิจกรรมการขนส่งด้วยเรือ ซึ่งจะไม่มีกิจกรรมการขนส่งอีกเมื่ออยู่ในที่พัก หากพูดในมิติของการขนส่งนักท่องเที่ยวว่าต่างจากการขนส่งสินค้าอย่างไร คำตอบที่สามารถทำให้เข้าใจได้ง่ายเข้าก็คือ คนเป็น Physical Flow ที่มีชีวิต จิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ที่หัวเราะได้ เดินไปไหนมาไหนได้ เหนื่อย หิว เจ็บไข้ได้ป่วยได้ ที่สำคัญตอบโต้กับเราได้ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้

 

 

          จุดประสงค์ของการจัดการโลจิสติกส์ ก็เพื่อให้ได้มา R ทั้ง 7 คือ Right Time, Right Place, Right Position, Right Cost, Right Customer และ Right Value แต่สำหรับโลจิสติกส์การท่องเที่ยวแล้ว ควรเพิ่ม Right Safety และ Green Thinking เข้าไปด้วย โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัยในการท่องเที่ยวของตัวนักท่องเที่ยวเอง และความร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนในเรื่องของการธำรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม สถาปัตยกรรม การทำนุบำรุงรักษา ซึ่งในบ้านเรา ผมขออนุญาต

            

          มีผลงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศมากมาย ที่เสนอผลให้ทราบถึงแนวคิดและหลักการบริหารจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและยั่งยื่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

 

(เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ, 2555, การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา)

 

 

(Komson Sommanawat, Hathaipun Soonthornpipit, Sirirat Hotrawaisaya, 2010,
THE STUDY OF COMMUNITY POTENTIAL IN TOURISM DEVELOPMENT, Suasunandha Rajabhat University)

 

 

(https://piboonrungroj.files.wordpress.com/2011/07/slide03.jpg)

 

          จากการศึกษาและวิจัยดังกล่าว สามารถสรุปเป็นข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางในการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเป็น 4 ส่วน คือ

 

          1. การเคลื่อนที่ทางกายภาพ (Physical Flow) เร่งพัฒนาถนนและเส้นทางที่จะเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย จัดการให้มีระบบขนส่งมวลชนที่มีมาตรฐานสามารถรองรับการท่องเที่ยวได้ทั้งในระดับ เชื่อมต่อระหว่างแหล่งท่องเที่ยวและระดับการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ดำเนินการด้านความปลอดภัยของการท่องเที่ยวอย่างมีแบบแผน การรักษาความปลอดภัย ณ สถานีขนส่ง เส้นทางท่องเที่ยว การเดินทางกรณีฉุกเฉิน นักท่องเที่ยว สามารถเดินทางท่องเที่ยวในชนบทได้โดยขนส่งมวลชนได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย เร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคด้านโลจิสติกส์เช่นไฟฟ้า ส่องสว่างตามถนน ทางเข้าแหล่งท่องเที่ยว น้ำประปา การเก็บขยะสิ่งปฏิกูล

 

          2. การเคลื่อนที่ของ สารสนเทศ (Information Flow) จัดทำเว็บไซต์ที่สวยงามดึงดูดใจ มีข้อมูลครบถ้วน แจ้งข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านระบบ ข้อมูล Online ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าดูได้ทุกที่ทุกเวลา มีการประชาสัมพันธ์จุดแวะพักเที่ยวใหม่ ๆ ให้ทราบผ่านสื่อต่าง ๆ พร้อมจัดทำแผนที่เชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวจากแหล่งท่องเที่ยวเก่า ระบุจุดเริ่มต้น และปลายทางอย่างชัดเจน ให้นักท่องเที่ยวเข้าใจง่ายอย่างรวดเร็ว จัดทำป้ายบอกทางให้ชัดเจน ภาษาเข้าใจง่าย รูปแบบมาตรฐาน จำนวนเหมาะสม เพียงพอและจัดวางติดตั้งอย่างสวยงามเป็นระบบ จัดทำแผนที่แสดงถึงเส้นทางการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางเชื่อมต่อระหว่าง แหล่งท่องเที่ยวอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย ติดตั้งในสถานที่และตำแหน่งที่นักท่องเที่ยว สามารถมองเห็นโดยง่าย เข้าใจง่าย ใช้ประโยชน์ได้รวมทั้งการมีโบว์ชัวจัดวางไว้ให้ นักท่องเที่ยวสามารถหยิบไปใช้ได้โดยง่ายตามสถานที่ต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวผ่าน จัดตั้งกลุ่มศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในแหล่งท่องเที่ยว

 

          3. การเคลื่อนที่ทางการเงิน (Financial Flow) เพิ่มเครื่องเบิกเงินสดอัตโนมัติ (ATM) ให้มากขึ้นทั้งจำนวนและสถานที่ติดตั้ง และสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเบิกเงิน มาจับจ่ายใช้สอยได้ตลอดเวลา

 

          4. องค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมกลุ่มบุคคลหรือหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่และบทบาทต่าง ๆ กันในการเสริมการ พัฒนาการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เช่น เสริมสร้างการพัฒนาด้านการเคลื่อนไหวทางกายภาพ และการเคลื่อนไหวของสารสนแทศ โดยการมีกลุ่มศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยวให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว กลุ่มพัฒนาและจัดระเบียบป้ายบอกทาง กลุ่มมัคคุเทศน์เยาวชนในพื้นที่นำทาง กลุ่มพัฒนาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว มีการประสานความร่วมมือด้านความปลอดภัยระหว่างคนในชุมชน อบต. อสม. โรงพยาบาล ตำรวจ และองค์กรอื่น ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงทั้งงบประมาณ และการอำนวยความสะดวก จัดให้มีการประชุมประชาคมด้านโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวทั้งภายในชุมชนและระหว่างชุมชนทุกเดือน จัดเวทีสร้างกระบวนการเรียนรู้ความเข้าใจ ทำ Workshop จัดทำวิสัยทัศน์การพัฒนาโลจิสติกส์การท่องเที่ยวทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวตลอดทั้งปีทั้งในและนอกเทศกาล ในปัจจุบันการจัดเทศกาล จัดกิจกรรมเน้นเฉพาะในหน้าหนาวที่เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม ควรมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจพร้อมโปรโมชั่นพิเศษเป็นการเชิญให้มีการมาท่องเที่ยวนอกฤดูกาล เพื่อเป็นการกระจายภาวะการแออัดของการเคลื่อนที่ทางกายภาพของแหล่งท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล มีการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงพื้นที่ มีการกระจายงาน โดยมอบอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการ ระยะแรกให้หน่วยงานรัฐเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้มีระบบชัดเจน มีระบบตรวจสอบ อาศัยแนวคิดของชุมชนที่รู้ข้อมูลในพื้นที่ตนเองเป็นอย่างดี จัดลำดับสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาก่อนหลังตามความจำเป็นเร่งด่วน โดยมีการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการและตัวชี้วัดความสำเร็จที่เหมาะสม

 

 

(https://3.bp.blogspot.com/-gAkkMwFfxR8/V3T3EriA0qI/AAAAAAAAD04/S5GUb0Tsqno8TZ4i_5lzGny_DsKUAc9JgCLcB/s1600/S__11313212.jpg)

           

          จากหลักการและแนวคิดดังกล่าว ทำให้เห็นถึงความสำคัญของคำว่า “การบูรณาการจากทุกภาคส่วน” “การสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม” “กับคำว่าเพื่อส่วนร่วม” ซึ่งผมจะขอเพิ่มอีก 2 คำคือ “Safety Awareness” การตระหนักรู้ถึงเรื่องของความปลอดภัย  และ “Discipline” ความมีระเบียบวินัยเพื่อส่วนรวม ที่สามารถจะเพิ่มศักยภาพของการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี 

 

 

(https://www.thaich8.com/photo.php?src=https://www.thaich8.com/assets/objects/News/new_2089565739.jpg&w=905&h=509&zc=1)

 

เอกสารอ้างอิง
• เถกิงศักดิ์ ชัยชาญ,2555,การจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวในอำเภอวังน้ำเขียวจังหวัดนครราชสีมา, Suranaree J. Soc. Sci. Vol. 6 No. 2; December 2012 (17-33).
• สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและกรมการท่องเที่ยว 2557.
• Komson Sommanawat, Hathaipun Soonthornpipit, Sirirat Hotrawaisaya, 2010, THE STUDY OF COMMUNITY POTENTIAL IN TOURISM DEVELOPMENT, Suasunandha Rajabhat University
• PATA, 2014, Note: AAGR refers to The average annual growth rate, expressed as a percentage (%).
https://piboonrungroj.files.wordpress.com/2011/07/slide03.jpg
https://piboonrungroj.files.wordpress.com/2011/12/tourism.png
http://revistas.uexternado.edu.co/index.php/tursoc/article/viewFile/3399/3522/13837
http://tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=190:2009-07-16-19-35-13&catid=64:2008-12-01-11-20-40&Itemid=78.
https://3.bp.blogspot.com/gAkkMwFfxR8/V3T3EriA0qI/AAAAAAAAD04/S5GUb0Tsqno8TZ4i_5lzGny_DsKUAc9JgCLcB/s1600/S__11313212.jpg
https://www.thaich8.com/photo.php?src=https://www.thaich8.com/assets/objects/News/new_2089565739.jpg&w=905&h=509&zc=1

 

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด