เนื้อหาวันที่ : 2015-11-17 12:17:55 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1842 views

ศิริพร วันฟั่น

 

 

 

 

ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility) หรือที่เรามักจะคุ้นหูกันในชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า  “CSR”  กำลังกลายเป็นกระแสที่มาแรง ซึ่งหากจะมองโดยเผิน ๆ ก็จะเป็นแค่เรื่องของการทำกิจกรรมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรเท่านั้น แต่หากจะมองให้ลึกซึ้งถึงที่ไปที่มาและความจำเป็นของซีเอสอาร์แล้ว คงต้องกลับไปดูกันตั้งแต่ต้นสายปลายเหตุว่า ทำไมองค์กรธุรกิจต่าง ๆ จึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

 

 

               ในตอนที่ 9–11 เราได้กล่าวถึงหัวข้อที่ (3) การดำเนินการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Implementing Responsible Production) ในหัวข้อย่อย (3.2) แนวปฏิบัติและชุดเครื่องมือ (Guidance and Toolkit) ที่เกี่ยวกับกิจกรรม (Activities) และเครื่องมือ (Tools) ที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ โดยได้กล่าวถึงเครื่องมือขั้นสูง (Advanced Tools) ที่ใช้ในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ และกล่าวต่อถึงขั้นตอนที่ 3 (พัฒนาแผนงานของตนเอง) ซึ่งจะมีเครื่องมือขั้นสูงอยู่ด้วยกัน 6 วิธี (Tool 3.7–3.12) โดยได้กล่าวถึง Tool 3.7–3.11 กันไปแล้ว ดังนั้นในตอนนี้จะขอกล่าวต่อถึงเครื่องมือขั้นสูงที่เหลือสุดท้ายคือ Tool 3.12 Business Case จากนั้นจะกล่าวต่อถึงเครื่องมือขั้นสูงที่อยู่ในขั้นตอนที่ 4 และ 5

 

 

เครื่องมือขั้นสูง (Advanced Tools) ในแต่ละขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

 

ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาแผนงานของตนเอง (ต่อ)

 

               Tool 3.12 Business Case วัตถุประสงค์ก็เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นว่าทำไม “Business Case” จึงมีความสำคัญต่อการจัดการอันตรายและความเสี่ยงของสารเคมีและการปรับปรุงความปลอดภัยของสารเคมี โดยที่ Business Case Tool ควรจะใช้ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ต้นทุน (Cost Analysis) ตามที่องค์กรได้ดำเนินการก่อนหน้านี้แล้ว (จากการใช้ Tool 3.2 การวิเคราะห์ต้นทุนในการป้องกันและลดความเสี่ยง) นอกจากนี้ Business Case ยังต้องการการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในส่วนของข้อห่วงกังวล ผลกระทบและโอกาสที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ Business Case จะช่วยองค์กรในการพัฒนาการมุ่งเน้นในสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง โดยมีขั้นตอนดำเนินการอยู่ 7 Step ดังที่แสดงอยู่ในตารางที่ 18

 

ตารางที่ 18 ตัวอย่างแบบฟอร์ม Business Case ที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อจัดอันดับความรุนแรงของผลกระทบ ที่มีต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร

 

Business Case

ระบุสถานการณ์อุบัติเหตุ (Accident Scenario) และพัฒนา Business Case บนพื้นฐานของสถานการณ์

 

 

ผลกระทบของการปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมี (Chemical Safety Management) ที่มีต่อธุรกิจขององค์กร

คำอธิบาย

การจัดอันดับ (Ranking):

1 = อาจจะนำไปสู่การหลุดออกจากวงการธุรกิจนั้น ๆ ไปเลย

2 = ต้องลงทุนเพิ่ม ทำให้ธุรกิจชะลอการเติบโตและผลกำไรลดลงไปช่วงระยะเวลาหนึ่ง

3 = อยู่ในระดับที่รับได้ และมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อธุรกิจ

4 = จะส่งผลให้ธุรกิจเจริญเติบโตและปรับปรุงผลกำไร

5 = จะส่งผลให้ธุรกิจเจริญเติบโต ปรับปรุงผลกำไรและเป็นผู้นำในภาคธุรกิจเดียวกัน

Step 1: เข้าใจผลกระทบด้านการเงิน (Financial Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะเป็นการเพิ่มหรือลดต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Costs) หรือไม่ (ดูการวิเคราะห์ต้นทุน–Cost Analysis)

 

 

ระยะสั้น

 

 

ระยะกลาง

 

 

ระยะยาว

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะเป็นการเพิ่มหรือลดต้นทุนของเงินกู้ยืม (Cost of Borrowing) หรือไม่

 

 

องค์กรมีศักยภาพในการลงทุน (Capital Expenditure Requirements) ที่จำเป็นหรือไม่

 

 

Step 2: เข้าใจผลกระทบด้านสังคม (Social Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยให้ดำเนินธุรกิจในชุมชนได้ง่ายขึ้นหรือไม่ (ใบอนุญาตในการดำเนินงาน–License to Operate)

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยให้ง่ายขึ้นต่อการจ้างงานและรักษาไว้ซึ่งบุคลากรหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมี ส่งผลต่อข้อห่วงกังวลขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) หรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยปรับปรุงสุขภาพของพนักงานและผู้ที่อยู่ในชุมชนหรือไม่

 

 

Step 3: เข้าใจผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นหรือไม่

 

 

Step 4: เข้าใจผลกระทบด้านเศรษฐกิจ (Economic Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยปรับปรุงความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นหรือไม่

 

 

Step 5: เข้าใจผลกระทบด้านกฏหมาย (Legal Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยลดโอกาสการเสียค่าปรับหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยลดโอกาสการถูกฟ้องร้องหรือไม่

 

 

Step 6: เข้าใจผลกระทบด้านความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competutuveness Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยให้ตำแหน่งทางการตลาดดีขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่งหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยให้ตำแหน่งทางการตลาดดีขึ้น สำหรับผู้ซื้อหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยให้ตำแหน่งทางการตลาดดีขึ้น สำหรับซัพพลายเออร์หรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยสร้างโอกาสสำหรับนวัตกรรมหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยสร้างโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ หรือหาลูกค้าใหม่หรือไม่

 

 

Step 7: เข้าใจผลกระทบด้านผลิตภาพ (Productivity Impact)

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยลดการหยุดงาน ความล่าช้า และเวลาที่สูญเสียไปจากอุบัติเหตุหรือไม่

 

 

การปรับปรุงการจัดการความปลอดภัยสารเคมีจะช่วยเพิ่มจำนวนการผลิตต่อคน/ชั่วโมง หรือไม่

 

 

คะแนนรวม

- รวมคะแนนทั้งหมดจากคอลัมน์สุดท้ายที่เป็นคะแนนจากการจัดอันดับของผลกระทบและโอกาสที่เชื่อมโยงกับคำถามในแต่ละ Step

 

คะแนนเฉลี่ย

- หาคะแนนเฉลี่ย โดยการหารคะแนนรวมด้วย 20 (หรือหารด้วยจำนวนคำถามที่สามารถให้คำตอบด้วยการจัดอันดับได้ในแต่ละ Step)

- คะแนนเฉลี่ย ≥ 3 จะสะท้อนถึง Business Case ที่มั่นคง

- คะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 จะบ่งชี้ว่า เผชิญกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) ที่ไม่เอื้ออำนวยและอาจประสบกับปัญหา “Free Riders” คือ มีผู้ฉกฉวยผลประโยชน์โดยมิได้รับภาระหรือลงทุนอะไรเลย (กินแรงเพื่อน) สำหรับกรณีนี้ก็คือ การที่บริษัทหนึ่ง ๆ ได้ลงทุนหรือปรับปรุงวิธีการจัดการความปลอดภัยสารเคมีให้ดีขึ้น เพื่อประโยชน์ของตัวบริษัทเองและชุมชนที่ดำเนินธุรกิจอยู่ แล้วยังส่งผลถึงภาพลักษณ์ที่ดีของภาคส่วนอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย ซึ่งอาจจะมีบริษัทอื่น ๆ ที่มีการจัดการความปลอดภัยสารเคมีที่ต่ำกว่ามาตรฐานแต่ยังคงได้รับประโยชน์จากภาพรวมของภาคส่วนอุตสาหกรรมนั้น ๆ โดยไม่ได้รับการลงโทษใด ๆ ทั้งในด้านการตลาด ข้อกำหนดทางกฏหมายหรือจากชุมชนที่พวกเขาดำเนินธุรกิจอยู่ ในทางกลับกัน หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับบริษัทเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียต่อภาคธุรกิจโดยรวมทั้งหมด ดังนั้นคะแนนเฉลี่ยในช่วงนี้จึงเป็นการแนะนำว่าจำเป็นที่จะต้องดำเนินการกันในระดับภาคส่วนอุตสาหกรรม โดยการผลักดันให้มีการจัดประชุมร่วมเพื่อทำความเข้าใจและนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันในการปรับปรุงวิธีการจัดการความปลอดภัยสารเคมีที่ดีขึ้น

- คะแนนเฉลี่ย = 1จะบ่งชี้ว่าควรจะริเริ่มการประเมินใหม่อีกครั้งสำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ในสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

 

 

ขั้นตอนที่ 4 นำแผนลงสู่การปฏิบัติ ฝึกอบรม และสื่อสาร ในขั้นตอนนี้จะมีเครื่องมือขั้นสูงอยู่เพียงวิธีเดียว ได้แก่

 

               Tool 4.5 รายการจัดซื้อ (Procurement Checklists) วัตถุประสงค์ของเครื่องมือนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่า องค์กรจะนำเอาประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมีและการปกป้องสิ่งแวดล้อมเข้าสู่การพิจารณา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการจัดซื้ออันจะนำไปสู่การจัดซื้ออย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) โดยเมื่อมองในบริบทที่กว้างขึ้นแล้ว การจัดซื้ออย่างยั่งยืนจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อสินค้าและบริการ ที่คำนึงถึงผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่จะมีต่อผู้คนและชุมชน จึงเป็นการพิจารณาว่าผลิตภัณฑ์ทำมาจากสิ่งใด มาจากที่ไหน ใครเป็นคนทำ ถูกขนส่งมาอย่างไร และสุดท้ายถูกกำจัดด้วยวิธีใด ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การจัดซื้อมีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการได้มาทั้งหมดของผลิตภัณฑ์เรื่อยไปจนถึงการกำจัดผลิตภัณฑ์ โดยTool 4.5 มีขั้นตอนดำเนินการอยู่ 3 Step ดังนี้ คือ

 

               Step 1–กำหนดนโยบายการจัดซื้อ (Procurement Policy) โดยการร่างนโยบายการจัดซื้อขึ้นมา และนำไปหารือกับผู้บริหารระดับสูง แต่ไม่ควรลืมว่าจุดมุ่งหมายหลักขององค์กร คือ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อคำนึงด้านความปลอดภัย (Safety Considerations) และการปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection) จะถูกบูรณาการเข้าไปในกระบวนการตัดสินใจเมื่อจะมีการจัดซื้อ จัดหา สารเคมีและการบริการที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ระบุไว้ในนโยบายการจัดซื้อเลยว่า “เป็นนโยบายของเราที่จะแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและการจัดการอย่างยั่งยืนในการจัดหาสินค้าและการบริการ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดหาดังกล่าวนี้จะมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่องค์กรได้ดำเนินธุรกิจอยู่” เป็นต้น

 

               Step 2–แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้โดยกฎหมาย (Legal) และระเบียบข้อบังคับ (Regulatory) โดยอ้างอิงย้อนกลับไปยังกฎหมายที่ขึ้นทะเบียน (Legal Register) ที่ได้จัดทำไว้ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่ารายการแสดงข้อกำหนดที่ระบุไว้โดยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งหมดนั้น องค์กรได้มีการพิจารณาโดยละเอียดและดำเนินการให้สอดคล้องเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์เคมีและบริการที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องตรวจสอบด้วยว่าประเภทขององค์กรหรือภาคส่วนอุตสาหกรรมได้ถูกระบุถึงหลักปฏิบัติ (Code of Practice) ที่มีข้อกำหนดบางส่วนเป็นการเฉพาะสำหรับระบบการจัดซื้อไว้ด้วยหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะสะท้อนสิ่งนี้ผ่านทางนโยบายการจัดซื้อด้วยเช่นกัน

 

               Step 3–จัดเตรียมรายการจัดซื้อ (Procurement Checklists) โดยองค์กรควรหยิบยกพันธะสัญญาที่แสดงอยู่ในนโยบายการจัดซื้อมาพิจารณา แล้วจัดเตรียมรายการสั่งซื้อสำหรับสารเคมีอันตรายและการบริการตามสัญญาที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา จัดส่ง หรือกระบวนการผลิตสารเคมีที่เป็นการดำเนินธุรกิจขององค์กร สำหรับเรื่องนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากที่องค์กรจะได้ประเมินอย่างระมัดระวังในแต่ละเคมีภัณฑ์ และบริการที่องค์กรได้มีการจัดซื้อ จัดหา โดยองค์กรอาจจะใช้การตั้งคำถามทั่วไปกับตัวเอง และสะท้อนหลักการบางอย่างที่อยู่ในวิธีการจัดซื้อและรายการจัดซื้อ ดังนี้ คือ

 

  • องค์กรจำเป็นต้องใช้เคมีภัณฑ์ชนิดนี้หรือไม่ หรือสามารถที่จะทดแทนด้วยสารเคมีตัวอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าได้
  • องค์กรจำเป็นต้องใช้สารเคมีอันตรายในปริมาณเท่านี้เลยหรือไม่ หรือสามารถที่จะใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่านี้ได้ ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับสิ่งแวดล้อม ก็คือ การจัดซื้อและใช้ให้น้อยลง
  • จัดซื้อ จัดหาสินค้าและบริการที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณสมบัติที่ทันสมัยหรือมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน
  • ห้ามใช้เคมีภัณฑ์ที่อาจสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อม ในเมื่อยังมีทางเลือกอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าอยู่
  • เจาะจงผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในแง่ของการผลิตและการดำเนินงานของผลิตภัณฑ์
  • เจาะจงเลือกผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุดต่อสภาพแวดล้อมในการผลิต จัดจำหน่าย ใช้ และกำจัด
  • พิจารณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์มากเกินไปหรือไม่ เพราะจะทำให้ต้นทุนวัสดุสิ้นเปลืองสูงขึ้น และต้องเสียเงินในการกำจัดขยะมากขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์นี้จะต้องมีการเตรียมการสำหรับการกำจัดเป็นกรณีพิเศษหรือไม่
  • พยายามสั่งซื้อผลิตภัณฑ์และการบริการภายในท้องถิ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ผลิตภัณฑ์มาพร้อมกับข้อมูลที่ครบถ้วนเกี่ยวกับอันตรายและความเสี่ยงด้วยหรือไม่ (ที่รวมถึงเอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์: MSDS)
  • พยายามสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายรับรองอันเป็นที่ยอมรับ
  • พิจารณาดูว่าการดำเนินการของซัพพลายเออร์เป็นไปตามมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือไม่

 

               โดยส่วนใหญ่แล้ว องค์กรไม่สามารถที่จะยุติการจัดซื้อสารเคมีอันตราย หรือค้นหาทางเลือกที่พร้อมใช้งานได้ในทันที ดังนั้นรายการตรวจสอบการจัดซื้อ (Procurement Checklists) จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรการเฉพาะไว้ด้วย เพื่อลดความเสี่ยงที่องค์กรไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และควรทำให้แน่ใจว่าได้มีการพิจารณาตามหลักการดังต่อไปนี้

 

  • สารเคมีอันตรายควรจะถูกจัดซื้อมาจากผู้ผลิต ซัพพลายเออร์ และผู้จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เป็นที่ยอมรับ ซึ่งทำให้แน่ใจได้ว่า สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงานและการดำเนินงานจะเป็นไปในวิถีทางที่จะเป็นการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจส่งผลกระทบต่อสาธารณะชนและสิ่งแวดล้อม
  • จัดซื้อสารเคมีอันตรายที่จำเป็นผ่านการทำสัญญาจัดซื้อที่มีรูปแบบดำเนินการที่ถูกต้อง เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้แน่ใจได้ว่า ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่าย การขนส่ง และการขนถ่ายสารเคมี จะได้รับการควบคุมและการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เอกสารการจัดส่งสินค้าควรจะระบุถึงสารเคมีอันตรายที่กำลังถูกดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินการตอบสนองจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างทันท่วงที เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับยานพาหนะ เช่นเดียวกันกับ การขนถ่าย จัดวาง และจัดเก็บ ก็สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ณ จุดหมายปลายทางด้วยเช่นกัน
  • ควรได้รับการประกันจากซัพพลายเออร์ และ/หรือผู้จัดจำหน่าย ว่าบรรจุภัณฑ์และตู้คอนเทรนเนอร์ที่ใช้ในการขนส่งจะปฏิบัติตามข้อกำหนดภายใต้กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกสำหรับสินค้าอันตราย และตู้คอนเทนเนอร์จะไม่มีรูรั่วและกันน้ำได้ เพื่อป้องกันการรั่วไหลลงสู่สิ่งแวดล้อมและสาธารณสมบัติ
  • ข้อตกลงในการขนถ่ายควรจะมีการระบุถึงข้อกำหนดส่วนที่จำเป็น เพื่อให้แน่ใจว่า จะเกิดความปลอดภัยในการถ่ายโอนสารเคมีอันตรายจากยานพาหนะจัดส่งของซัพพลายเออร์ที่เข้าไปในสถานที่จัดเก็บ
  • ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและขั้นตอนดำเนินการ จำเป็นต้องถูกนำมาใช้เพื่อสื่อสารในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการขนส่งจากที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว
  • สัญญาการจัดซื้อควรจะรวมถึงการประเมินความเสี่ยงของเส้นทางที่จะถูกใช้สำหรับการจัดส่งสารเคมีอันตราย ที่ดำเนินการโดยซัพพลายเออร์และผู้จัดจำหน่าย

 

                ในกรณีที่การขนส่งของซัพพลายเออร์และผู้จัดจำหน่ายได้ใช้ผู้รับเหมาช่วงเพื่อกระจายสารเคมีอันตรายนั้น ควรมีการรับประกันว่าการบริการนี้จะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ไม่ควรเจาะจงผลิตภัณฑ์โดยยึดติดแต่เฉพาะยี่ห้อเท่านั้น โดยเฉพาะในยี่ห้อที่อาจจะเป็นประโยชน์กับแหล่งเดียวเท่านั้น เพราะเท่ากับเป็นการกีดกันทางการแข่งขัน อันที่จริงแล้วควรจะระบุว่าต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดจำหน่ายทุกรายมีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการจัดหาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับสเปคที่องค์กรต้องการ

 

 

ขั้นตอนที่ 5: ประเมินในสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ว่าสัมฤทธ์ผลแค่ไหน ในขั้นตอนนี้จะมีเครื่องมือขั้นสูงเพียงอย่างเดียว ได้แก่

 

               Tool 5.4 การให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ (Independent Assurance) วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้มีการประเมินที่เป็นอิสระ มีความน่าเชื่อถือในการสื่อสารต่อสาธารณะชน เกี่ยวกับผลการดำเนินงานขององค์กร โดยทั่วไปแล้วการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ ก็คือ การจัดทำ ‘รายงานการให้ความเชื่อมั่นต่อสาธารณะ’ (The Public Assurance Statement) ที่ลงนามโดยผู้ให้ความเชื่อมั่น และถูกแนบไปกับการสื่อสารต่อสาธารณะชนขององค์กร การให้ความเชื่อมั่นยังเป็นประโยชน์เป็นการภายในที่สำคัญได้อีกด้วย โดยการให้มุมมองอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับผลการดำเนินงาน รวมทั้งระบบและกระบวนการที่สำคัญ จึงถือเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม โดย Tool 5.4 มีขั้นตอนดำเนินการอยู่ 8 Step ดังนี้ คือ

 

               Step 1–พิจารณาดูว่าการให้ความเชื่อมั่นเป็นสิ่งสำคัญหรือไม่ โดยพิจารณาใน 2 ประเด็น ดังต่อไปนี้

 

  • จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกหรือไม่ หรือ
  • เพียงแค่ต้องการเครื่องมือการเรียนรู้ภายในองค์กร

 

               Step 2–ตัดสินใจว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายสำหรับการให้ความเชื่อมั่นนี้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับเป้าหมายสำหรับการสื่อสารขององค์กร

 

               Step 3–ตัดสินใจเลือกประเภทของผู้ให้ความเชื่อมั่น (Assurance Provider) ที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในสายตาของกลุ่มเป้าหมายขององค์กร โดยทั่ว ๆ ไปการให้ความเชื่อมั่นจะกระทำโดย

 

  • ผู้ให้ความเชื่อมั่นที่ทำงานในบริษัทบัญชี เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชี
  • ผู้ให้ความเชื่อมั่นที่ทำงานในหน่วยงานที่ให้การรับรอง (Certified Body) เช่น ผู้ให้การรับรองมาตรฐาน ISO 14001
  • ผู้ให้ความเชื่อมั่นที่ทำงานในหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Consultancies) และองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ (NGOs) เช่น ผู้ที่ได้รับการยอมรับกันว่ามีความรู้ ความชำนาญในประเด็นนั้น ๆ
  • คณะผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบไปด้วย บุคลากรอันหลากหลายที่รอบรู้เกี่ยวกับธุรกิจและผลกระทบเป็นอย่างดี

 

               Step 4–ในการตัดสินใจเลือกประเภทของผู้ให้ความเชื่อมั่นนั้น ควรจะระบุรายชื่อผู้ให้ความเชื่อมั่นที่เข้าข่ายทั้งหมดและทำการประเมินในประเด็นเหล่านี้

 

  • ความรู้และความสามารถ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของสารเคมี ความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้อง, ความรู้ในขั้นตอนของการให้ความเชื่อมั่น ความรู้ทางการตลาดและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • ประสบการณ์ เคยผ่านงานด้านนี้มาหรือไม่
  • ความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของพวกเขา
  • ความเป็นอิสระและความเป็นกลางของพวกเขา (ต้องปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน)
  • ความพร้อมและค่าใช้จ่าย

 

               Step 5–ดำเนินการคัดเลือกผู้ให้ความเชื่อมั่น โดยเชื้อเชิญให้วางข้อเสนอ ประเมินข้อเสนอ แล้วคัดเลือกผู้ให้ความเชื่อมั่น

 

               Step 6–เจรจาข้อตกลงในสัญญาว่าจ้าง โดยมีการเห็นพ้องร่วมกันในประเด็นเหล่านี้ เช่น มาตรฐานที่ใช้ในการทำสัญญา (เช่น AA1000AS–Assurance Standard), ขอบเขตของการให้ความเชื่อมั่น (เช่น รายการที่ครอบคลุม เกณฑ์ที่จะใช้ ขอบเขตขององค์กร ขอบเขตเวลา), ทีมงานผู้ให้ความเชื่อมั่น, ความลึกของการตรวจสอบและระดับของความพยายาม (เวลาที่จะได้รับการจัดสรรโดยทีมงาน), วันเริ่มต้นและเสร็จสิ้นสัญญา, ค่าใช้จ่าย, ขั้นตอนการระงับข้อพิพาท, สิ่งที่จะต้องมีอยู่ในรายงาน เป็นต้น

 

               Step 7–ทีมงานของผู้ให้ความเชื่อมั่นลงมือปฏิบัติงานตามขอบเขตของข้อตกลงในสัญญา

 

               Step 8–ดำเนินกระบวนการทวนสอบรายงานขององค์กรจนเสร็จสิ้นสมบูรณ์ แล้วจัดทำรายงานการให้ความเชื่อมั่น (Assurance Statement) ที่มีต่อรายงานนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีเนื้อหาหลัก ๆ ดังนี้ คือ

 

  • ชื่อเรื่อง: รายงานการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ (Independent Assurance Statement)
  • หมายเหตุเกี่ยวกับผู้รับสาร: ถ้าไม่มีการระบุรายชื่อผู้ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ในรายงานนี้ ผู้นำองค์กรของผู้ให้ความเชื่อมั่นควรพิจารณาระบุผู้รับสารที่เห็นพ้องด้วยในรายงานที่อยู่ในการให้ความเชื่อมั่น หรือไม่อย่างนั้นก็อ้างอิงถึงเอกสารรายชื่อไว้ในรายงานเพื่อประโยชน์ของผู้อ่าน
  • หมายเหตุเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ: ระบุบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ทั้งในส่วนของผู้ให้ความเชื่อมั่นและตัวองค์กรเอง รวมถึงหัวหน้าและสมาชิกทีมผู้ให้ความเชื่อมั่น ตลอดจนตัวบุคลากรในองค์กรที่ถูกมอบหมายให้ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • อธิบายขอบเขตของข้อตกลงในการให้ความเชื่อมั่น: รายงานการให้ความเชื่อมั่นควรระบุว่าส่วนใดของรายงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระของข้อตกลงในการให้ความเชื่อมั่น และควรอธิบายถึงข้อยกเว้นและข้อจำกัดใด ๆ รวมทั้งระบุถึงขอบเขตขององค์กร ช่วงระยะเวลาที่ครอบคลุม หัวข้อที่ครอบคลุม (การระบุประเด็นสำคัญถือเป็นความรับผิดชอบขององค์กร)
  • หมายเหตุเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้: รายงานการให้ความเชื่อมั่นควรระบุเกณฑ์ที่ใช้สำหรับกำหนดข้อตกลง โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมและแหล่งที่มาของเกณฑ์ที่ใช้
  • เปิดเผยระเบียบวิธี (Methodology): รายงานการให้ความเชื่อมั่นควรอธิบายวิธีการที่ใช้ในระหว่างดำเนินการตามข้อตกลง ซึ่งควรจะรวมถึง การระบุมาตรฐาน, หลักการที่ใช้และวิธีการที่ใช้ (เช่น สำหรับการอ้างอิง หรือเป็นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติ) รวมถึงข้อจำกัดใด ๆ ในการใช้, ความเห็นเกี่ยวกับระดับของความเชื่อมั่นที่ได้จากผู้ให้ความเชื่อมั่น, หลักฐานที่ขอ (ปริมาณและคุณภาพของข้อมูล), คำอธิบายถึงวิธีการรวบรวมหลักฐานรวมทั้งความลึกของการสอบสวน, อุปสรรคหรือข้อจำกัดใด ๆ ในการเข้าถึงหรือความเพียงพอของหลักฐาน
  • บทสรุปเกี่ยวข้องกับหลักการ: อย่างน้อย ๆ ควรจะรวมถึงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ได้แก่ เสถียรภาพของกระบวนการและระบบที่ใช้โดยองค์กรเพื่อที่จะใช้ในการกำหนดประเด็นสำคัญ, ข้อมูลใดที่มีการละเลยหรือบิดเบือน, เสถียรภาพของกระบวนการและระบบที่ใช้ในการทำความเข้าใจถึงผลกระทบและโอกาสที่เชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญ, ความน่าเชื่อถือของข้อมูลและสารสนเทศ, เสถียรภาพของกระบวนการและระบบที่ใช้ในการระบุการตอบสนอง,การตอบสนองที่มีให้(เช่น วัตถุประสงค์ เป้าหมาย)ในส่วนที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • สิ่งที่ค้นพบ ความเห็น และข้อเสนอแนะ: ควรจะรวมถึงสิ่งเหล่านี้ด้วย ได้แก่ สิ่งที่ค้นพบเกี่ยวกับการยืนยันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามมาตรฐาน ข้อบังคับ กฎระเบียบ และนโยบาย (ตามที่ได้เห็นพ้องร่วมกันก่อนหน้านี้), ความเห็น และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับส่วนที่มีการปรับปรุงที่ผ่านมาและในอนาคต, ความเห็นและข้อเสนอแนะในเรื่องของค่านิยมและกลยุทธ์ในปัจจุบันและอนาคต, ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการรายงานและขอบเขตการให้ความเชื่อมั่น
  • เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถ ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระของผู้ให้ความเชื่อมั่น: ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ให้ความเชื่อมั่นและผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการให้ความเชื่อมั่นต้องดำเนินการ
  • การลงนาม: โดยระบุชื่อของผู้นำหรือหัวหน้าทีมปฏิบัติการให้ความเชื่อมั่น วันที่ และสถานที่ตั้งของบริษัทผู้ให้ความเชื่อมั่น

 

               หัวข้อที่ (3) การดำเนินการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Implementing Responsible Production) ที่อยู่ในตอนที่ 5 จนถึงตอนที่ 12 ของบทความ ทำให้เราได้เรียนรู้ถึง (3.1) กรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Production Framework) ที่เป็นการระบุถึงกระบวนการที่ทำไปทีละขั้นตอนเพื่อปรับปรุงการจัดการอันตรายจากสารเคมี (Chemical hazard management) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ที่ให้แนวทางที่เป็นระบบเพื่อจัดการความเสี่ยงและผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตราย และ (3.2) แนวปฏิบัติและชุดเครื่องมือ (Guidance and Toolkit) โดยเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีให้ไว้ในชุดเครื่องมือการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Production Toolkit) จะให้แนวปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการที่จะใช้ในการดำเนินการในแต่ละการกระทำ (Action) นั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีชุดของตัวชี้วัด (Set of Indicators) ที่ช่วยประเมินการดำเนินงานของการกระทำเหล่านี้ด้วย และจะทำให้รับทราบว่าที่ได้ดำเนินการไปในแต่ละขั้นตอนนั้นได้ผลที่แท้จริงเป็นอย่างไร

 

รูปที่ 2 ภาพรวมของการดำเนินการการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Overview of Implementing Responsible Production)

 

 

 

               ในแต่ละขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบจะมีตัวชี้วัดหลัก (Main Indicators) และก็มีตัวชี้วัดแสดงรายละเอียด (Detailed Indicators) ซึ่งจะถูกเสริมเข้าไปกับตัวชี้วัดหลักแต่ละตัวอีกด้วย โดยจะอยู่ในรูปแบบของคำถาม ตัวชี้วัดทั้งสองแบบนี้จะถูกนำไปใช้เพื่อประเมินในแต่ละขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ ตัวชี้วัดหลักจะมีความสอดคล้องโดยตรงกับขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ และจะประเมินภาพรวมของวิธีการที่ได้ทำไปในแต่ละขั้นตอน ในขณะที่ตัวชี้วัดแสดงรายละเอียดจะเป็นคำถามที่เฉพาะเจาะจงที่ช่วยประเมินวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีปรับปรุง คำตอบที่ให้กับตัวชี้วัดแสดงรายละเอียดจะถูกป้อนเข้าไปเป็นคะแนนให้กับตัวชี้วัดหลัก

 

ตารางที่ 19 แสดงความเชื่อมโยงระหว่างขั้นตอนของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบและตัวชี้วัดหลัก

 

กรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

(Responsible Production Framework)

ตัวชี้วัดหลัก

(Main Indicators)

ขั้นตอนที่ 1: ชี้บ่งประเด็นต่าง ๆ ของการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Identify Responsible Production Issues)

ความรู้ในประเด็นนั้นๆ (Issue Knowledge)

ขั้นตอนที่ 2: การได้มาซึ่งผู้ที่มีส่วนร่วมอย่างถูกคน (Get the Right People Involved)

ความมีประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม (Engagement Effectiveness)

ขั้นตอนที่ 3: พัฒนาแผนงานของตนเอง (Develop Your Plan)

ความมีประสิทธิผลของการวางแผน (Planning Effectiveness)

ขั้นตอนที่ 4: นำแผนลงสู่การปฏิบัติ ฝึกอบรม และสื่อสาร (Put the Plan into Practice, Train and Communicate)

การดำเนินการ (Implementation)

ขั้นตอนที่ 5: ประเมินในสิ่งที่ได้ดำเนินการว่าสัมฤทธ์ผลแค่ไหน (Evaluate how well you did)

การประเมินและการสื่อสาร (Evaluation and Communication)

 

               ตัวชี้วัดแสดงรายละเอียดจะถูกใช้ในการประเมิน “การดำเนินการ (Implementation)” ใน 3 ระดับด้วยกัน คือ (1) ความตระหนักและความมุ่งมั่น (2) ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ และ (3) การปรับปรุงและนวัตกรรม โดยที่ขั้นตอนทั้งหมด 5 ขั้นของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบสามารถถูกประเมินผลในลักษณะที่สัมพันธ์กันในแต่ละระดับ องค์กรสามารถเลื่อนจากระดับหนึ่งไปยังระดับถัดไปได้ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญและขีดความสามารถขององค์กรในการปรับปรุงที่เพิ่มขึ้น แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าองค์กรนั้น ๆ จะต้องมีคะแนนอย่างสมบูรณ์แบบในระดับหนึ่งให้ได้ก่อนที่จะเลื่อนไปสู่ระดับถัดไป แต่การล้มเหลวที่จะทำคะแนนได้ดีในระดับหนึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการในระดับถัดไปได้

               ตารางที่ 20 แสดงตัวชี้วัดหลักและตัวชี้วัดแสดงรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน เช่นเดียวกับ มีการระบุเครื่องมือ (Tools) ที่อยู่ในชุดเครื่องมือการผลิตด้วยความรับผิดชอบ (Responsible Production Toolkit–ได้กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ 3.2) และวัสดุฝึกอบรม (Training Materials) ที่อยู่ในชุดฝึกอบรม (Training Package–จะกล่าวถึงต่อไปในหัวข้อ 3.3) ซึ่งจะช่วยพัฒนาการดำเนินการตามกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ ท้ายสุด Dashboard Worksheets จะแสดงวิธีที่ผลการดำเนินงานจะได้รับการประเมินเทียบกับตัวชี้วัด

 

ตารางที่ 20 แสดงตัวชี้วัด (Indicators) เครื่องมือ (Tools) และการฝึกอบรม (Training) ของกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

 

การประเมิน การดำเนินการตามกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

ระดับที่ 1: ความตระหนักและความมุ่งมั่น (Awareness and Commitment Level)

ตัวชี้วัดหลัก

(Main Indicator)

ตัวชี้วัดแสดงรายละเอียด

(Detailed Indicators)

เครื่องมือที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติ

(Relevant Tools and Guidance)

โมดูลการฝึกอบรม

(Training Modules)

ความรู้ในประเด็นนั้นๆ (Issue Knowledge)

1. รู้หรือไม่ว่า สารเคมีอะไรที่องค์กรได้มีการจัดการ และมีปริมาณโดยเฉลี่ยเท่าไรที่อยู่ในสถานประกอบกิจการ

Tool 1.2 จัดทำสารบบสารเคมี (Chemical Inventory)และจำแนกประเภทอันตราย (Hazard Classification)

จัดทำสารบบสารเคมี (Chemical Inventory) และอันตรายจากสารเคมี (Chemical Hazards)

2. รู้หรือไม่ว่า มาตรฐาน (Standards) ระเบียบปฏิบัติ (Codes) ข้อกำหนดทางกฏหมาย(Legal Requirements) และกฏระเบียบ (Regulations) แบบใด ที่ใช้กับสารเคมีเหล่านี้

Tool 1.5 กฎหมายที่ขึ้นทะเบียน (Legal Register)

ข้อกำหนดทางกฏหมายและระเบียบข้อบังคับ (Legal and Regulatory Requirements)

ความมีประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม (Engagement Effectiveness)

1. รู้หรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร คือใคร

Tool 2.1 จัดทำแผนที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Map Stakeholders)

การระบุและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Identification and Engagement)

2. รู้หรือไม่ว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรมีความกังวลอะไรเกี่ยวกับสารเคมีที่องค์กรใช้

Tool 2.2 จัดทำข้อมูลประวัติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Profile Stakeholders)

ความมีประสิทธิผลของการวางแผน (Planning Effectiveness)

1. ได้มีการระบุวิธีการควบคุมอันตราย และ/หรือ ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอันตรายของสารเคมีในพื้นที่งานขององค์กร และได้มีการพัฒนาแผนปฏิบัติการสำหรับดำเนินการวิธีการที่ว่านี้ หรือไม่ (เช่น ในการขนถ่ายและถ่ายโอนของวัตถุดิบ การจัดเก็บและการจัดการสารเคมี กระบวนการผลิต การบรรจุ และการขนส่งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขององค์กร)

Tool 3.1 ระบุการดำเนินการสำหรับลดความเสี่ยง

Tool 3.4 แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

Tool 3.7 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบทั่วไป (General)

Tool 3.8 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การขนถ่ายและเคลื่อนย้ายสารเคมี

 Tool 3.9 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): พื้นที่การผลิต

Tool 3.10 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การจัดเก็บสารเคมี

Tool 3.11 ป้องกันและลดความเสี่ยงนอกพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การขนส่งสารเคมี

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และการระบุการดำเนินการลดความเสี่ยง (Identification of Risk Reduction Action)

 

แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

 

 

 

 

2. มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการควบคุมอันตรายหรือลดความเสี่ยงจากสารเคมีหรือไม่

Tool 3.3 ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

3. มีแผนฉุกเฉินหรือไม่

Tool 3.6 แผนฉุกเฉิน

(Emergency Plan)

การวางแผนรับเหตุฉุกเฉิน (Emergency Planning)

4. มีแผนงานฝึกอบรมใด ๆ สำหรับพนักงานหรือไม่

Tool 3.5 แผนงานฝึกอบรม (Traning Plan)

การฝึกอบรม (Training)

5. มีแผนงานฝึกอบรมใด ๆ สำหรับหุ้นส่วนทางธุรกิจและซัพพลายเออร์สาธารณชนทั่วไปและลูกค้า หรือไม่

Tool 3.5 แผนงานฝึกอบรม

(Traning Plan)

 

 

6. ได้รับรู้ถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอันตรายจากสารเคมีขององค์กร และการประหยัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงหรือไม่

Tool 3.2 การวิเคราะห์ต้นทุนในการป้องกันและลดความเสี่ยง (Prevention & Risk Reduction Cost Analysis)

Tool 3.12 Business Case

 

การดำเนินการ (Implementation)

1. ได้มีการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานขององค์กรในการลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีหรือไม่

Tool 4.2 วัสดุฝึกอบรม

(Training Materials)

 

2. ได้มีการฝึกอบรมหุ้นส่วนทางธุรกิจและซัพพลายเออร์ขององค์กรในการลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมี หรือไม่

Tool 4.2 วัสดุฝึกอบรม

(Training Materials)

 

3. ได้มีการฝึกอบรมลูกค้าขององค์กรให้ได้เข้าใจและลดความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีหรือไม่

Tool 4.2 วัสดุฝึกอบรม

(Training Materials)

 

4. ได้มีการจัดการความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีตามขั้นตอนที่องค์กรได้กำหนดไว้หรือไม่

Tool 4.1 ขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

(Best Practice Procedures)

ขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

(Best Practice Procedures)

5. ได้มีการให้ข้อมูลความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีในผลิตภัณฑ์ขององค์กรหรือไม่

Tool 4.4 การจัดเตรียมข้อมูลความเสี่ยงผลิตภัณฑ์ (Product Risk Information)

 

การประเมินและการสื่อสาร (Evaluation and Communication)

1. ได้มีการประเมินผลการดำเนินงานและระบบการจัดการขององค์กรหรือไม่

Tool 5.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment)

Tool 5.2 การประเมินการบริหารจัดการ(Management Assessment)

การประเมิน (Assessment)

2. ได้มีการตรวจประเมินอย่างเป็นอิสระ (Independent Audits) หรือการรับรอง (Certificatiions) สำหรับผลการดำเนินงานและระบบขององค์กรหรือไม่

Tool 5.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment)

Tool 5.2 การประเมินการบริหารจัดการ(Management Assessment)

 

3. ได้มีการสื่อสารภายนอกองค์กร (External Communication) และได้รับการให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระสำหรับการสื่อสารนี้หรือไม่

Tool 5.3 การสื่อสารภายนอกองค์กร(External Communications)

Tool 5.4 การให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ (Independent Assurance)

 

4. ได้มีระบบสำหรับการจัดการข้อซักถามและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความปลอดภัยจากสาธารณชนหรือไม่

Tool 5.3 การสื่อสารภายนอกองค์กร(External Communications)

 

การประเมิน การดำเนินการตามกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

ระดับที่ 2: ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ (Understanding and Application)

ตัวชี้วัดหลัก

(Main Indicator)

ตัวชี้วัดแสดงรายละเอียด

(Detailed Indicators)

เครื่องมือที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติ

(Relevant Tools and Guidance)

โมดูลการฝึกอบรม

(Training Modules)

ความรู้ในประเด็นนั้นๆ (Issue Knowledge)

1. ได้มีความเข้าใจในสมบัติทางเคมี (Chemical Properties) ของสารเคมีที่องค์กรใช้และอันตรายที่เกี่ยวข้องหรือไม่

Tool 1.3 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

 

การไหลของกระบวนการผลิตและสารเคมี

2. ได้มีความเข้าใจในการไหลของกระบวนการผลิต (Process Flow) ของสารเคมีที่ใช้ในองค์กรหรือไม่

Tool 1.1 จัดเตรียมแผนภาพการไหลของกระบวนการผลิต (Process Flow Diagram)

 

3. ได้ดำเนินการประเมินความเสี่ยงและจัดลำดับความสำคัญ จับคู่มาตรการกับอันตราย หรือจำแนกประเภทอันตรายหรือไม่

Tool 1.2 จัดทำสารบบสารเคมี (Chemical Inventory) และจำแนกประเภทอันตราย (Hazard Classification)

Tool 1.3 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

Tool 1.6 จำแนกประเภทอันตราย

(Hazard Classification)

การชี้บ่งและจำแนกประเภทอันตราย

4. ได้มีการชี้บ่งและทำความเข้าใจจุดอันตราย (Hazard Hotspots) (ในกระบวนการผลิต,ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาและขนส่งวัตถุดิบทางเคมี การจัดการ หรือกำจัดของเสียและผลิตผลพลอยได้ (By –products), และที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งและการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขององค์กร) หรือไม่

Tool 1.4 แผนที่แสดงจุดอันตราย

(Hazard Hotspots Map)

 

5. ได้เข้าใจวิธีการดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรฐาน (Standards) ระเบียบปฏิบัติ (Codes) ข้อกำหนดทางกฏหมาย (Legal Requirements) และกฏระเบียบ (Regulations) ที่ใช้กับสารเคมีขององค์กรหรือไม่ 

Tool 1.5 กฎหมายที่ขึ้นทะเบียน

(Legal Register)

 

ความมีประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม (Engagement Effectiveness)

1. มีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กรและประเด็น (ปัญหา) ที่เกี่ยวข้องกับพวกเขา

Tool 2.2 จัดทำข้อมูลประวัติของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Profile Stakeholders)

Tool 2.5 จัดลำดับความสำคัญของปัญหา(Prioritise Issues)

การชี้บ่งและมีส่วนร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders Identification and Engagement)

2. มีความเข้าใจมากน้อยเพียงใดเกี่ยวกับวิธีการการมีส่วนร่วมกับพวกเขา

Tool 2.3 คัดเลือกวิธีการมีส่วนร่วม

Tool 2.4 วางแผนการมีส่วนร่วม

 

ความมีประสิทธิผลของการวางแผน (Planning Effectiveness)

1. ได้เข้าใจถึงวิธีที่ดีที่สุดในการที่จะควบคุมอันตราย และ/หรือ ลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอันตรายจากสารเคมีภายนอกสถานประกอบการ และการพัฒนา แผนปฏิบัติการที่เหมาะสม (เช่น ในการขนส่งวัตถุดิบ และในการขนส่ง การจัดจำหน่าย และการใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปขององค์กร) หรือไม่

Tool 3.1 ระบุการดำเนินการลดความเสี่ยง

Tool 3.4 แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

Tool 3.11 ป้องกันและลดความเสี่ยงนอกพื้นที่งานบริษัท–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การขนส่งสารเคมี

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และการชี้บ่งการดำเนิน การลดความเสี่ยง (Identification of Risk Reduction Action)

แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Action Plans)

2. แผนงานขององค์กรได้มีการรวมความเข้าใจในสิ่งที่กล่าวข้างต้น หรือไม่

Tool 3.4 แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

 

3. ได้เข้าใจวิธีการในแผนงานขององค์กร ที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการควบคุมอันตรายหรือลดความเสี่ยงจากสารเคมีภายนอกสถานที่ประกอบการ

Tool 3.3 ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

 

แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

4. แผนงานสร้างความตระหนักและฝึกอบรมได้จัดทำขึ้นบนความเข้าใจขององค์กรเกี่ยวกับความเสี่ยงจากอันตรายของสารเคมีขององค์กร

Tool 3.5 แผนงานฝึกอบรม (Traning plan)

 

การฝึกอบรม (Trainning)

5. ได้มีความเข้าใจถึงผลกระทบของอันตรายจากสารเคมีที่สัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยรวมขององค์กร หรือไม่

Tool 3.12 Business case

 

6. ได้มีการพัฒนากิจกรรมป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากอันตรายจากสารเคมีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในและภายนอกสถานประกอบกิจการ และจากผลิตภัณฑ์และการบริการในตลาดการค้าขององค์กร รวมทั้งตลอดห่วงโซ่คุณค่าหรือไม่

Tool 3.1 ระบุการดำเนินการสำหรับลดความเสี่ยง

 

 

7. ได้มีความเข้าใจในต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอันตรายจากสารเคมีขององค์กร และการประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยง และผลกระทบที่มีต่อแผนงานและกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่

Tool 3.2 การวิเคราะห์ต้นทุนในการป้องกันและลดความเสี่ยง (Prevention & Risk Reduction Cost Analysis)

Tool 3.12 Business Case

แผนปฏิบัติการควบคุมทางเคมี (Chemical Control Action Plans)

การดำเนินการ (Implementation)

1. พนักงาน ลูกค้า หุ้นส่วนทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ขององค์กรและชุมชนที่อยู่ใกล้ ได้มีความเข้าใจในวิธีจัดการอันตรายจากสารเคมีและผลการดำเนินงานขององค์กร หรือไม่

Tool 3.5 แผนงานฝึกอบรม (Traning Plan)

 

การฝึกอบรม (Trainning)

2. ได้ขยายการจัดการอันตรายจากสารเคมีให้เข้าอยู่ในกระบวนการจัดซื้อหรือไม่

Tool 4.5 รายการตรวจสอบการจัดซื้อ(Procurement Checklists)

 

3. ได้มีการสื่อสารผลของการตรวจประเมิน/การตรวจสอบเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัย ไปยังผู้ปฏิบัติงาน หุ้นส่วนทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ ลูกค้าและชุมชนหรือไม่

Tool 4.3 การสื่อสารความเสี่ยง

(Risk Communication)

การสื่อสาร (Communication)

การประเมินและการสื่อสาร (Evaluation and Communication)

1. ผลของการประเมิน ตรวจประเมินและการให้ความเชื่อมั่นในรายงาน ได้ถูกใช้เพื่อปรับปรุงความเข้าใจ แผนงาน และการดำเนินการหรือไม่

Tool 5.2 วิธีการประเมินการบริหารจัดการ(Management Assessment)

การประเมิน (Assessment)

2. ได้มีระบบสำหรับการจัดการข้อซักถามและข้อร้องเรียนที่เกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยจากสาธารณชนหรือไม่

Tool 5.3 การสื่อสารภายนอกองค์กร (External Communications)

 

การประเมิน การดำเนินการตามกรอบการผลิตด้วยความรับผิดชอบ

ระดับที่ 3: การปรับปรุงและนวัตกรรม (Improvement and Innovation)

ตัวชี้วัดหลัก

(Main Indicator)

ตัวชี้วัดแสดงรายละเอียด

(Detailed Indicators)

เครื่องมือที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติ

(Relevant Tools and Guidance)

โมดูลการฝึกอบรม

(Training Modules)

ความรู้ในประเด็นนั้นๆ (Issue knowledge)

1. ได้มีระบบในการติดตามและปรับปรุงการชี้บ่งและความเข้าใจอันตรายจากสารเคมีขององค์กรหรือไม่

Tool 1.4 แผนที่แสดงจุดอันตราย

(Hazard Hotspots Map)

การจัดทำแผนที่จุดอันตราย (Hazard Mapping)

2. ได้มีการตรวจสอบสถานะและประเมินมาตรฐาน (Standards) ระเบียบปฏิบัติ (Codes) ข้อกำหนดทางกฏหมาย (Legal Requirements) และกฏระเบียบ (Regulations) ใหม่ที่ใช้กับสารเคมีหรือไม่

Tool 1.5 กฎหมายที่ขึ้นทะเบียน

(Legal Register)

 

ความมีประสิทธิผลของการมีส่วนร่วม (Engagement Effectiveness)

1. ได้มีระบบในการติดตามและปรับปรุงความเข้าใจขององค์กรที่มีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร และวิธีในการมีส่วนร่วมกับพวกเขาเหล่านี้หรือไม่

Tool 2.6 ทบทวนกระบวนการการมีส่วนร่วม (Engagement Process)

การชี้บ่งและมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(Stakeholders Identification and Engagement)

2. ได้ตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวิถีทางที่สามารถทำให้พวกเขาได้มีส่วนช่วยองค์กรในการปรับปรุงหรือไม่

Tool 2.6 ทบทวนกระบวนการการมีส่วนร่วม (Engagement Process)

 

ความมีประสิทธิผลของการวางแผน (Planning Effectiveness)

1. ได้มีระบบในการติดตามและปรับปรุงความเข้าใจขององค์กรที่มีต่อกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงขององค์กร  หรือไม่

Tool 1.3 ชี้บ่งความเสี่ยงด้านสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

Tool 3.1 ระบุการดำเนินการสำหรับลดความเสี่ยง

Tool 3.4 แผนปฏิบัติการควบคุมทางสารเคมี (Chemical Control Action Plans)

การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Analysis) และการชี้บ่งการดำเนินการลดความเสี่ยง (Identification of Risk Reduction Action)

2. ได้มีระบบในการติดตามและปรับปรุงความเข้าใจขององค์กรถึงความจำเป็นและคุณค่าของการฝึกอบรมหรือไม่

Tool 3.3 ตั้งเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน

Tool 3.7 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบทั่วไป (General)

Tool 3.8 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การขนถ่ายและเคลื่อนย้ายสารเคมี

 Tool 3.9 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): พื้นที่การผลิต

Tool 3.10 ป้องกันและลดความเสี่ยงบริเวณพื้นที่งานของสถานประกอบการ–แบบเฉพาะเจาะจง (Specific): การจัดเก็บสารเคมี

แผนปฏิบัติการควบคุมทางสารเคมี (Chemical Control Action Plans)

การดำเนินการ (Implementation)

1. ได้มีการวัดเปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmarking) และจัดรูปแบบขั้นตอนดำเนินการให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) หรือไม่

Tool 4.1 ขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

(Best Practice Procedures)

 

2. ได้มีระบบในการติดตามและปรับปรุงวิธีการที่องค์กรใช้สื่อสารเกี่ยวกับการจัดการอันตรายจากสารเคมี หรือไม่

Tool 4.3 การสื่อสารความเสี่ยง

(Risk Communication)

การสื่อสาร

(Communication)

การประเมินและการสื่อสาร (Evaluation and Communication)

1. การประเมิน การตรวจประเมิน และการให้ความเชื่อมั่นขององค์กร ถือเป็นส่วนหนึ่งของวงจรการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual Improvement Cycle) หรือไม่

Tool 5.1 วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Assessment)

Tool 5.2 วิธีการประเมินการบริหารจัดการ(Management Assessment)

Tool 5.4 การให้ความเชื่อมั่นอย่างเป็นอิสระ (Independent Assurance)

 

 

 

 

****** ติดตามอ่านตอนต่อไปในฉบับหน้า ******

 

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • Responsible Production for Chemical Hazard Management, Lessons Learned from Implementation, UNEP 2013.
  • Responsible Production Handbook, Introduction to the Responsible Production Guidance and Toolkit, UNEP 2010.  
  • Responsible Production Framework, UNEP 2009.  
  • UNEPs Handbook for Responsible Production (UNEP &AccountAbility 2009).
  • Corporate Social Responsibility and Safety and Health at Work: Global Perpectives, Local Practices, Working on Safety Conference, Roros, Norway, 7–10 September, 2010

สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.

ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด