ปัญหาวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งได้ลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ได้ปะทุในปี 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 70 ของ GDP เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศคู่ค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอียู จีน ออสเตรเลียจนถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอยในอีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ผลกระทบสะท้อนมายังการหดตัวทางเศรษฐกิจของไทย
ปัญหาวิกฤตทางการเงินในสหรัฐฯ ซึ่งได้ลุกลามเป็นวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ได้ปะทุในปี 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกกว่าร้อยละ 70 ของ GDP เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของบรรดาประเทศคู่ค้าที่สั่งซื้อสินค้าจากไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอียู จีน ออสเตรเลีย เป็นต้น จนถึงขั้นเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ในอีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ โดยผลกระทบดังกล่าวได้สะท้อนมายังการหดตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยในไตรมาส 4 ของปี 51 คาดว่า GDP จะหดตัวที่ร้อยละ -2.0 ถึง -3.0 ต่อปี |
. |
เมื่อพิจารณาการส่งออกของไทย จะพบว่ากว่าร้อยละ 75 ของการส่งออกเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกดังกล่าว ได้ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก 3 ลำดับแรก ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานพาหนะ ที่ล้วนมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก (World Demand Growth Linkage Effect) ในระดับสูง ทั้งนี้ ได้มีสัญญาณการส่งออกที่อาจถึงขั้นหดตัวลง (การขยายตัวติดลบ) ในปี 2552 โดยในเดือน พ.ย.51 นั้น ปริมาณการส่งออกทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมต่างหดตัวลง ที่ร้อยละ -22.9 -16.2 และ -3.0 ต่อปี ตามลำดับ |
. |
ผลกระทบต่อการส่งออกของ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ดังกล่าว นอกจากจะทำให้เครื่องยนต์การส่งออกของไทยอ่อนกำลังลงแล้ว ยังจะส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องไปยังภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามปรากฏการณ์ Domino Effect ไม่ว่าจะเป็น การชะลอตัวของ Real GDP ของไทย อัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการปรับลดพนักงานลงเพื่อลดต้นทุนการผลิต ตลอดจนกระทบไปยังอุตสาหกรรมเชื่อมโยงอื่นๆ ทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำเป็นต้น |
. |
ดังนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่บทความนี้จะนำเสนอสถานการณ์ของปัญหาดังกล่าว ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT Analysis) ต่อทั้ง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกดังกล่าว รวมทั้งพิจารณาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย เพื่อมิให้ปัญหาดังกล่าวลุกลามเป็นวงกว้างและซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไทยในปี 2552 ต้องประสบกับภาวะถดถอยและประสบกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจจนยากที่จะเยียวยาในที่สุด |
. |
1. ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างมากจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก |
ในช่วงปี 2551 วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาได้ลุกลามไปยังภาคการเงินและภาคเศรษฐกิจจริงในสหรัฐอมริกา ซึ่งต่อมาได้ขยายวงเป็นปัญหาวิกฤตการทางการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจของโลกเศรษฐกิจไทยเองก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยได้ส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าและบริการกว่าร้อยละ 70 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) |
. |
และ ร้อยละ 75 ของการส่งออกเป็นสินค้าอุตสาหกรรม โดยผลกระทบวิกฤตการณ์ได้สะท้อนมายังการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริง (Real GDP) ที่มีอัตราชะลอลงต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 6.0 ต่อปีและชะลอลงในไตรมาส 2 และ 3 เหลือเพียงร้อยละ 5.3 และ 4.0 ต่อปี ตามลำดับ และคาดว่าในไตรมาส 4 จะหดทั้งนี้ เมื่อพิจารณาสัดส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ของไทย มีสัดส่วนโดยเฉลี่ยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมากว่าร้อยละ 40 โดยมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ |
. |
และหากพิจารณาแหล่งที่มาของการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (Contribution to Real GDP Growth) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยกว่าร้อยละ 5.0 นั้นมาจากการขยายตัวภาคอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 2.7 ต่อปี โดยมีสัดส่วนมูลค่าของสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (โดยปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 60 ; ภาพที่ 2) อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดปัญหาวิกฤตทางการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจโลก นอกจากส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ชะลอลงแล้ว ยังส่งผลให้อัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอลงด้วย โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน 51 จะพบว่าอัตราการขยายตัวของปริมาณการส่งออกของสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญๆ ต่างหดตัวพร้อมกัน |
. |
2. อุตสาหกรรมสำคัญที่จะโดนผลกระทบต่อเนื่อง (Domino Effect) จากเศรษฐกิจโลก |
การที่เศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจเปิดขนาดเล็ก ขณะเดียวกัน เป็นระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้บริบทที่การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนจากการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศมาเป็นผลิตเพื่อส่งออกแทน ซึ่งทำให้มีการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภายนอกประเทศมากขึ้น จากภาพที่ 3 สะท้อนว่าอุตสาหกรรมในกลุ่มด้านบนที่มี High Share และ High Growth |
. |
อาทิ ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก (World Demand Growth Linkage Effect) ในระดับสูง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไทยเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าอุตสาหกรรมจึงได้กลายเป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 51 มีมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 124,922 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 75.1 ของมูลค่าสินค้าส่งออกรวม |
. |
ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาเฉพาะ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักเพื่อการส่งออกที่มีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในระดับสูง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานพาหนะ มีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกของปี 51 สูงเป็น 3 ลำดับแรกที่ร้อยละ 17.6 10.2 และ 11.1 ของมูลค่าสินค้าส่งออกรวม ตามลำดับยังคงมีอัตราการเติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 6.0 9.0 และ 32.5 ต่อปี ตามลำดับ แต่ในระยะต่อไป ผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลก จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อปริมาณการส่งออกของไทยชะลอตัวลง จะส่งผลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมชะลอการผลิตสินค้าส่งออกและสินค้าอื่นๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าส่งออก และส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องไปยัง Real GDP ให้ชะลอตัวลง เรียกว่าปรากฏการณ์ Domino Effect |
. |
3. ผลกระทบต่อ 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักเพื่อการส่งออก |
ปัญหาวิกฤตการทางการเงินและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังกลุ่มประเทศยุโรปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ และประเทศอื่นๆ จนหลายประเทศเข้าสู่ภาวะชะลอตัว และบางประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) ส่งผลกระทบทางลบต่อสินค้าอุตสาหกรรมของไทยที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ และเมื่อพิจารณาประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคูค่ หลักในปี 2552 จะพบว่าทุกประเทศล้วนปรับตัวไปในทิศทางที่แย่ลง ส่งกระทบอย่างมากต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังประเทศคู่ค้าดังกล่าว ซึ่งหมายถึงการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการจ้างงานจะแย่ลงตามไปด้วย |
. |
1) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ |
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับประเทศไทย โดยประเทศไทยมีฐานการผลิตทั้งอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ และมีสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าเพื่อส่งออกอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 80-90 (ขณะที่จำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 10-20) โดยมีโครงสร้างสินค้าส่งออก(ไม่รวมเครื่องใช้ไฟฟ้า) แบ่งเป็น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ร้อยละ 55.8 แผงวงจรไฟฟ้า ร้อยละ 26.4 และอื่นๆ ร้อยละ 16.9 |
. |
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในช่วง ม.ค.-พ.ย.51 มีมูลค่ารวม 27,996 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี ชะลอตัวลงจากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปี โดยหากพิจารณาคู่ค้าหลักของสินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์ และแผงวงจรไฟฟ้า ได้แก่ จีน สหรัฐฯ EU15 และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดอันดับ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 พบว่ามีแนวโน้มลดลงจากต้นปีอย่างมาก |
. |
2) อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า |
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คือกลุ่มอุตสาหกรรมปลายน้ำของอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้นิยามไว้คนละหมวดกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามมาตรฐาน Standard Industrial Classification of All Economic Activities (ISIC) โดยอิเล็กทรอนิกส์อยู่ใน ISIC 30 และเครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่ใน ISIC 32 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้ามีสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าเพื่อส่งออกอยู่ในช่วงประมาณร้อยละ 80-90 (ขณะที่จำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 10-20) โดยมีโครงสร้างสินค้าส่งออก |
. |
แบ่งเป็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ร้อยละ 23.2 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ร้อยละ 15.3 ตู้เย็น/ตู้แช่ เครื่องวิดีโอ/เครื่องเสียง เครื่องตัดต่อ/ป้องกัน ร้อยละ 21.5 และอื่นๆ ร้อยละ 40.0 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในช่วง ม.ค.-พ.ย.51 มีมูลค่ารวม 16,655 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 9.0 ต่อปี ชะลอตัวลงจากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0 ต่อปี หากพิจารณาคู่ค้าหลักของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้แก่ EU15 สหรัฐฯ จีนและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดอันดับ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 พบว่ามีแนวโน้มแย่ลงจากต้นปีอย่างมาก |
. |
ส่วนในปี 2552 คาดว่าผลจากการชะลอตัวและหดตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่สั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทย จะทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี และหากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นอาจหดตัวลงถึงร้อยละ -10.0 ต่อปี ซึ่งการหดตัวของการส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า |
. |
3) อุตสาหกรรมยานยนต์ |
อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยเป็นอุตสาหกรรมหลักที่มีความสำคัญต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยรัฐบาลได้กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ด้วยเล็งเห็นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ จะส่งผลดีหลายประการทั้งในด้านเศรษฐกิจ การจ้างงานและการพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื่อมโยงต่อเนื่องอื่นๆ (Forward & Backward Linkage Industries) ตามมา |
. |
อาทิเช่นเหล็ก, พลาสติก ยางยนต์ (ภาพที่ 8) และการที่รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการลงทุนด้านยานยนต์นี้เองส่งผลให้เกิดการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ การออกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การชักนำให้บริษัทผู้ผลิตชั้นนำต่างๆ เข้ามาสร้างฐานการผลิตในประเทศ ตลอดจนถึงการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการต่างๆ การลดความเข้มงวดและอัตราภาษี เป็นต้น |
. |
ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์มีสัดส่วนการจำหน่ายสินค้าเพื่อส่งออกอยู่ประมาณร้อยละ 50 โดยมีโครงสร้างสินค้าส่งออก แบ่งเป็น รถแวนและปิ๊กอัพ ร้อยละ 49.0 รถนั่ง ร้อยละ 37.6 รถบัสและรถบรรทุก ร้อยละ 8.2 รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.0 และรถจักรยาน ร้อยละ 1.3 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกในช่วงม.ค.-พ.ย.51 มีมูลค่ารวม 16,947 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 32.5 ต่อปี ชะลอตัวลงจากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 ต่อปี โดยคู่ค้าหลักของสินค้ายานยนต์ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย EU15 และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดอันดับ 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2551 พบว่ามีแนวโน้มแย่ลงจากต้นปีอย่างมาก |
. |
ส่วนในปี 2552 คาดว่าผลจากการชะลอตัวและหดตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักที่สั่งซื้อสินค้ายานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ จะทำให้มูลค่าส่งออกสินค้ายานยนต์ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี และหากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นอาจหดตัวลงถึงร้อยละ -10.0 ต่อปี ซึ่งการหดตัวของการส่งออกสินค้ายานยนต์ดังกล่าวจะส่งผลกระทบในวงกว้างเนื่องจากอุตสาหกรรมยานยนต์มีความเกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ในระบบเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง |
. |
ทั้งในลักษณะของการเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งรองรับวัตถุดิบ (Backward Linkage) จากอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกทั้งส่งผลเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ในลักษณะ Forward Linkage ผลกระทบดังกล่าวจะกระทบทั้งในส่วนของผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิต และความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 5.4 ของการผลิตในอุตสาหกรรมรวม (เมื่อถ่วงน้ำหนักมูลค่าเพิ่มแล้ว) |
. |
และเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้เครื่องจักรกลและเทคโนโลยีในการผลิต ทำให้มีสัดส่วนการใช้กำลังการผลิต (CapU) ในระดับสูงกว่าร้อยละ 12.4 ของการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยรวม ตลอดจนกระทบการจ้างงานที่ปัจจุบันมีตำแหน่งการจ้างงานกว่า 3-3.5 แสนคน (รวมการจ้างงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์) เนื่องจากหากยอดคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าลดลง จะส่งผลให้ปรับลดกำลังการผลิตลง |
. |
ซึ่งหากลดลงกว่าร้อยละ 20 นั้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการปรับลดเวลาการทำงาน ไปจนกระทั่งถึงการปรับลดพนักงานตามนโยบายบริษัทแม่ในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนประกอบการ (ดังที่มีการปรับลดพนักงานแล้วบางส่วน สำหรับบริษัทในเครือของ 3 บริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ ได้แก่ เจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) ฟอร์ด มอเตอร์ และไครสเลอร์ ขณะที่บริษัทในค่ายรถญี่ปุ่นเองก็ประสบกับปัญหาดังกล่าวเช่นกัน) และส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคการส่งออกของไทย |
. |
4. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม เพื่อนำมาทำยุทธศาสตร์สำหรับภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก |
. |
ปัจจัยภายในประเทศ |
จุดแข็ง |
1. อุตสาหกรรมมีสาขาที่หลากหลายและมีสัดส่วนค่อนข้างสมดุล 2. เป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าสำคัญ เนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานเหมาะแก่การลงทุนและมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจาก BOI จูงใจนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่อง 3. ต้นทุนด้านแรงงานอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศที่ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม |
. |
จุดอ่อน |
1. สถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน ส่งผลให้นโยบายเศรษฐกิจไม่ต่อเนื่อง 2. ขาดแคลนบุคลากรในอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และแรงงานระดับกลาง 3. ขนาดเศรษฐกิจที่เล็ก ดังนั้น หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เศรษฐกิจของประเทศจะชะลอตามไปด้วย |
. |
ปัจจัยภายนอกประเทศ |
โอกาส |
1.ตลาดในภูมิภาคมีการค้าขายกันมากขึ้น (Intra Regional Trade) ทำให้มีอุปสงค์ต่อสินค้าระหว่างกันเพิ่มขึ้น 2. อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง 3. เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อการส่งออก 4. ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในระดับลดต่ำลงจากปี 511 |
. |
ใช้จุดแข็งเพื่อขยายโอกาส |
1. จัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2. พัฒนาระบบขนส่งสินค้า (logistic) ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น โดยเชื่อมโยงระบบการขนส่งประเภทต่างๆ ให้สอดคล้องกัน |
. |
พลิกวิกฤตเป็นโอกาส |
1. พัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน โดยจัดให้มีศูนย์วิจัยและศูนย์ฝึกอบรมกระจายในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการที่ยังขาดแคลนอยู่ 2. สถาบันการศึกษาควรผลิตบัณฑิตให้ตรงกับตลาดแรงงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน |
. |
ภัยคุกคาม |
1. ปัญหาเศรษฐกิจโลกถดถอย ทำให้การสั่งซื้อสินค้าจากตลาดหลักลดลงอย่างต่อเนื่อง 2. ต้นทุนสินค้าในส่วนของวัตถุดิบและค่าขนส่งที่อาจเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่ผันผวนในอนาคต 3. การแข่งขันจากประเทศที่มีแรงงานราคาถูก เช่น เวียดนาม จีน และอินเดีย 4. แนวโน้มการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงขึ้น |
. |
กลยุทธ์ป้องกันภัยคุกคาม |
1. หาตลาดใหม่ทดแทนตลาดหลัก 2. พัฒนาการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของผู้ผลิตรายสำคัญของโลก โดยมุ่งเน้นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น 3. ส่งเสริมการสร้าง Brand เพื่อสร้างความมั่นใจในตัวสินค้าและเป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ 4. ปรับเปลี่ยนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันจากต่างประเทศและลดต้นทุนการผลิต |
. |
กลยุทธ์ในการหลีกเลี่ยงจุดอ่อนจากภัยคุกคาม |
1. ยกระดับการศึกษาขั้นต่ำให้มาอยู่ในระดับมัธยม และมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม 2. พัฒนาระบบสาธารณูปโภค (Infrastructure) ที่ใช้ในการผลิตให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 3. พัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการ 4. สนับสนุนการพัฒนาและวิจัย เพื่อรองรับการผลิตในอนาคต |
. |
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th |