เนื้อหาวันที่ : 2008-06-10 11:13:46 จำนวนผู้เข้าชมแล้ว : 1801 views

เอเซียตะวันออก : หนทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

วิกฤตการณ์ครั้งนี้ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเริ่มมาจากวิกฤตการณ์ค่าเงิน ไปยังวิกฤตการณ์ของระบบธนาคาร และลามไปเป็นการถดถอยของเศรษฐกิจของเกือบทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ดี ความเกี่ยวเนื่องของสาเหตุหลักมีความคล้ายคลึงกัน คือ มาจากการขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่สูง และการที่ราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นในลักษณะฟองสบู่ การควบคุมดูแลที่อ่อนแอในระบบการเงิน รวมไปถึงความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่เต้นไปกับเหตุการณ์ต่าง ๆ

รายงานของธนาคารโลกฉบับนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์วิกฤตการณ์ที่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเผชิญอยู่ ประกอบกับการแก้ปัญหาที่รัฐบาลได้เริ่มทำไปแล้ว และนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางนโยบายที่จะช่วยให้การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจเกิดเร็วขึ้น

.

วิกฤตการณ์ครั้งนี้ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเริ่มมาจากวิกฤตการณ์ค่าเงิน ไปยังวิกฤตการณ์ของระบบธนาคาร และลามไปเป็นการถดถอยของเศรษฐกิจของเกือบทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ดี ความเกี่ยวเนื่องของสาเหตุหลักมีความคล้ายคลึงกัน คือ มาจากการขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่สูง และการที่ราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นในลักษณะฟองสบู่ การควบคุมดูแลที่อ่อนแอในระบบการเงิน รวมไปถึงความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่เต้นไปกับเหตุการณ์ต่าง ๆ

.

โดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวีเดน และฟินแลนด์ ได้เคยประสบมาแล้วทั้งสิ้น แต่ประเทศเอเซียตะวันออกมีความแตกต่างที่ความต่อเนื่องที่รุนแรงของแต่ละปัญหา กล่าวคือ มีการโจมตีค่าเงินทั้งภูมิภาค การไหลออกของเงินทุนครั้งใหญ่ วิกฤตการณ์เกิดพร้อม ๆ กันหลายประเทศ ลงท้ายด้วยความถดถอยทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค

..

สำหรับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจอีกครั้งทั่วภูมิภาคนั้น มีแนวทางหลัก 5 ประการ ได้แก่ การเร่งกระตุ้นอุปสงค์โดยรวม การฟื้นฟูภาคการธนาคารและภาคเอกชน การปกป้องคนยากจนจากวิกฤตการณ์ การดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่องการปรับโครงสร้าง และสุดท้ายการนำเงินทุนจากต่างชาติให้ไหลกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง

..

โดยสรุปแล้ว วิกฤตการณ์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออก ซึ่งหากเป็นเมื่อ 18 เดือนที่แล้ว ไม่เคยมีใครคิดว่าจะมีความรุนแรงได้เพียงนี้ ในความเป็นจริงทุกประเทศในเอเซียตะวันออกต่างก็ได้เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำธุรกิจและการเมือง บริษัทเอกชนที่เคยสามารถกู้ยืมได้ไม่จำกัดโดยใช้เพียงการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลักประกันเงินกู้ก็ต้องเข้ากฎเกณฑ์ระเบียบใหม่ ธนาคารที่เคยกู้ยืมเป็นเงินเหรียญ สรอ. หรือเงินเยน

..

โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงอาศัยแต่ความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐเป็นเครื่องมือประกันความเสี่ยงก็ต้องเข้ากฎเกณฑ์ระเบียบที่วางไว้ใหม่ บริษัทเอกชนและธนาคารจะมีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงเจ้าของดังเช่นที่เคยเกิดมาก่อนแล้วกับประเทศสหรัฐฯ ในช่วงทศวรรษ 1930 และประเทศในแถบละตินอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงแม้ว่าอาจจะเร็วไปที่จะบอกว่าธนาคารและบริษัทเอกชนจะเปลี่ยนไป แต่การเพิ่มตัวแทนของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมทั้งต่างชาติ

..

กฎระเบียบที่ดีขึ้นในตลาดหุ้นและบริษัทเอกชนเอง รวมถึงการจัดการที่ดีขึ้นน่าจะนำมาซึ่งความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของบริษัท ทำนองเดียวกันรัฐบาลและการจัดการภาครัฐก็ได้เปลี่ยนไปถึงแม้ว่าภาระที่หนักหนาจากการค้ำประกันหนี้บางส่วนของภาคธุรกิจเอกชน รัฐบาลก็ได้ปรับโครงสร้างของตนเองเพื่อที่จะลดภาระเหล่านี้ในอนาคต และลดบทบาทในเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร ท้ายที่สุดวิถีใหม่ของการจัดการตั้งแต่ตอนเหนือของภูมิภาค (เกาหลี) ไปจนถึงตอนใต้ของภูมิภาค (อินโดนีเซีย) น่าจะเป็นหนทางใหม่สู่ความเปิดเผยโปร่งใสและเชื่อถือได้ การเริ่มต้นสำหรับการฟื้นตัวได้ถูกกำหนดแนวทางไว้แล้ว

..

เอเซียตะวันออก : หนทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ( East Asia : The Road to Recovery)

เศรษฐกิจของประเทศเอเซียตะวันออกกำลังประสบกับวิกฤตการณ์ครั้งใหญ่ ทำให้ภูมิภาคที่เคยมีความก้าวหน้ามากที่สุดในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา 30 ปี พบกับความถดถอยอย่างกระทันหัน วิกฤตการณ์ทั้งทางการเงินและค่าเงินได้นำไปสู่วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยพร้อม ๆ กัน ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการว่างงาน รวมทั้งค่าจ้างของคนงานที่ลดลงทำให้มีการว่างงานจำนวนมาก นอกจากนี้ ความแห้งแล้งก็ไม่เป็นใจกับเกษตรกรในการที่จะใช้โอกาสในยามที่อาหารมีราคาแพงขึ้นมาเพิ่มรายได้ให้กับตนเอง ความยากลำบากในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจาก 3 ทศวรรษแห่งการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนในรุ่นนี้ไม่เคยได้สัมผัสกับความลำบากที่แท้จริง และสังคมก็ไม่ได้มีกลไกอัตโนมัติที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบในครั้งนี้
..

วิกฤตการณ์ของเอเซียตะวันออกค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเริ่มมาจากวิกฤตการณ์ค่าเงิน ไปยังวิกฤตการณ์ของระบบธนาคาร และลามไปทั่วทั้งภูมิภาค อย่างไรก็ดี ความเกี่ยวเนื่องของสาเหตุหลักมีความคล้ายคลึงกัน คือ มาจากการขยายตัวของสินเชื่อในอัตราที่สูง และการที่ราคาทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นในลักษณะฟองสบู่ การควบคุมดูแลที่อ่อนแอในระบบการเงิน รวมไปถึงความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่เต้นไปกับเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ได้พิจารณาปัจจัยพื้นฐานที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สวีเดน และฟินแลนด์ ได้เคยประสบมาแล้วทั้งสิ้น แต่ประเทศเอเซียตะวันออกมีความแตกต่างที่ความต่อเนื่องที่รุนแรงของแต่ละปัญหา กล่าวคือ มีการโจมตีค่าเงินทั้งภูมิภาค การไหลออกของเงินทุนครั้งใหญ่ วิกฤตการณ์เกิดพร้อม ๆ กันหลายประเทศ ลงท้ายด้วยความถดถอยทางเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาค

..

จุดมุ่งหมายของรายงานนี้เพื่อนำเสนอการวิเคราะห์วิกฤตการณ์ที่ภูมิภาคนี้เผชิญอยู่ นำเสนอการแก้ไขปัญหาที่ทำไปแล้วในภูมิภาค และนำเสนอแนะแนวทางนโยบายที่จะช่วยให้การฟื้นฟูเร็วขึ้น ซึ่งรายงานนี้ได้ชี้ว่า ถ้าแม้ไม่เกิดวิกฤตการณ์ในปี 1997 การปรับโครงสร้างโดยรวมก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน การปรับโครงสร้างนี้หมายความถึง โครงสร้างของภาคเอกชน ภาคการเงิน ภาคสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นหากยังต้องการให้มีความเจริญแบบยั่งยืน และยิ่งเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ในปี 1997 ก็ยิ่งทำให้การปรับโครงสร้างเป็นสิ่งที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น

.

สิ่งที่มีความจำเป็นเร่งด่วนในเวลานี้ คือ การเสริมสร้างพื้นฐานและสภาพแวดล้อมสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจอีกครั้งทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ประสบกับความถดถอยมากเป็นพิเศษ คือ ไทย เกาหลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ความท้าทายของการแก้ไขปัญหาเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากต่อคนยากจนในภูมิภาค โดยจากการตั้งสมมติฐานว่า หากเศรษฐกิจหดตัวสะสม 10%

.

ใน 3 ปีข้างหน้า และการกระจายรายได้เลวร้ายลง 10% จำนวนคนยากจนใน อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว (จาก 40 ล้านคน เป็น 90 ล้านคน) จากเหตุผลนี้การปรับปรุงโครงสร้างเพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโตอีกครั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการทำให้ปัญหาค่าแรงที่กำลังลดลง และอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้นได้รับการแก้ไขในทางที่ดีต่อไป ประเทศในภูมิภาคนอกเหนือจากประเทศที่กล่าวถึงไปแล้วก็ได้รับผลกระทบของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้เช่นกัน โดยยังไม่อาจมั่นใจว่าจะสามารถเลี่ยงการถดถอยทางเศรษฐกิจได้หรือไม่ 

.

ประเทศจีนอาจจะมีความแตกต่างอยู่ก็ว่ามีอิสระที่จะหาแนวทางของตนเองในการเผชิญหน้ากับสถานการณ์เนื่องจากมีขนาดของเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก และระบบเงินทุนที่ยังปิดอยู่ โดยจีนยังมีงานหนักรออยู่ถ้าหากว่าต้องการให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ที่สูงสำหรับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งท้าทายหลัก 5 ประการ ได้แก่ การเร่งกระตุ้นอุปสงค์โดยรวม การฟื้นฟูภาคการธนาคารและภาคเอกชน การปกป้องคนยากจนจากวิกฤตการณ์ การดำเนินการอย่างต่อเนื่องเรื่องการปรับโครงสร้าง และสุดท้ายการนำเงินทุนจากต่างชาติให้ไหลกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีแนวทางพอสังเขปดังนี้

.
1. การเร่งกระตุ้นอุปสงค์โดยรวม

อุปสงค์ในภูมิภาคได้ลดลงโดยการที่หุ้นและอสังหาริมทรัพย์มีราคาลดลงอย่างน่าใจหาย ทำให้ประชากรโดยส่วนใหญ่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิลดลง การออมของชนชั้นกลางก็ลดลงและการหดตัวของเศรษฐกิจทำให้อำนาจการซื้อลดลง รวมทั้งการสูญเสียความมั่นใจของนักลงทุนทำให้การลงทุนลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อุปสงค์จากต่างชาติสำหรับสินค้าจากภูมิภาคนี้ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างที่ควรจะเป็นความต้องการสินค้าส่งออกจากภูมิภาคยังไม่มีท่าที่ว่าจะดีขึ้น ยกเว้นมีการฟื้นตัวของภูมิภาค หรือเมื่อผู้ส่งออกได้ค้นพบตลาดใหม่ เมื่อใดที่การส่งออกเริ่มดีขึ้น การฟื้นฟูเศรษฐกิจก็ทำได้สะดวกขึ้นเนื่องจากการส่งออกเป็นปัจจัยหลักของภูมิภาคในการเจริญเติบโต อย่างไรก็ดี การลดลงของค่าเงินในภูมิภาคพร้อม ๆ กันไม่ได้ส่งผลดีต่อประเทศใด มีแต่จะทำให้เกิดความผันผวนทางด้านการเงิน

.

โดยการลดลงของค่าเงินยิ่งทำให้บริษัทต่าง ๆ มีต้นทุนเพิ่มขึ้น การจำกัดการเคลื่อนย้ายเงินทุนก็ไม่เหมาะกับสถานการณ์ที่ภูมิภาคกำลังต้องการเงินทุน และการสร้างกำแพงสำหรับสินค้านำเข้าเพื่อลดปัญหาดุลการชำระเงินก็ไม่ควรทำเพราะจะส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศการดำเนินนโยบายการคลังในระยะสั้นจะมีส่วนช่วยเพิ่มอุปสงค์โดยรวมได้ การใช้จ่ายของรัฐบาลสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของคนยากจนและคนว่างงาน และช่วยเพิ่มอุปสงค์ในภาคเอกชน หลังจากได้เกิดวิกฤตการณ์จนถึงไตรมาสแรกของปี 1998 นโยบายการคลังในภูมิภาคเป็นไปในลักษณะหดตัว

.

จนเมื่อมาถึงเดือนกรกฎาคม 1998 นโยบายทางการคลังในภูมิภาคจึงได้มีการเปลี่ยนแปลงเป็นขยายตัว ในขณะที่ยังไม่รู้ว่าผลการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวจะเพียงพอหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็เป็นที่แน่ใจได้ว่าภูมิภาคจะได้ประโยชน์จากการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวพร้อม ๆ กัน การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ย่อมจะมีผลต่อการฟื้นฟูการถดถอยในภูมิภาค โดยเฉพาะถ้าญี่ปุ่นพร้อมที่จะเป็นผู้นำ ตัวอย่างเช่นถ้าภูมิภาคนี้ (รวมญี่ปุ่น)

.

เพิ่มการขาดดุลการคลัง 1% ของ GDP จะมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นจนสามารถเพิ่มอัตราการเติบโตได้ถึง 2% ของ GDPผลประโยชน์นี้จะดีขึ้นไปอีกถ้าหากนโยบายกระตุ้นทางการคลังถูกเสริมด้วยนโยบายการเงินที่สอดคล้องกัน โดยอัตราดอกเบี้ยในภูมิภาค เช่นใน เกาหลี ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ (ยกเว้นอินโดนีเซีย) ได้ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องจนในขณะนี้สูงกว่าเมื่อก่อนเกิดวิกฤตการณ์เพียง 2-3% สิ่งนี้เป็นสัญญาณที่ดี อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมา 2-3% จากอัตราเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 10% ทำให้ภาระหนี้ของบริษัทในภูมิภาคมีต้นทุนสูงขึ้นถึง 20-30% แล้ว รวมทั้งการแปลงหนี้เป็นทุนที่ต้องมีอัตราที่สูงขึ้นเนื่องจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงเกิดของวิกฤตการณ์

.

ความพยายามที่จะลดดอกเบี้ยโดยยังให้มีเสถียรภาพของค่าเงินเป็นสิ่งที่ต้องกระทำ แต่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นการไหลเวียนของระบบสินเชื่อในภูมิภาคได้อีกครั้ง สินเชื่อไม่ได้มีเพียงความจำเป็นต่อการทำธุรกรรมโดยปกติของภาคธุรกิจอย่างเดียว แต่ยังต้องมีความจำเป็นสำหรับธุรกิจในอนาคตที่เกิดจากการปรับโครงสร้างโดยรวม โดยรัฐบาลอาจจะมีบทบาทในการส่งเสริมสินเชื่อสำหรับการส่งออก สำหรับบริษัทขนาดกลางและเล็ก และสำหรับธุรกิจในชนบทที่ห่างไกล

.

2. การฟื้นฟูภาคการธนาคารและภาคเอกชน

ในช่วงที่ประเทศในภูมิภาคกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ บริษัทเอกชนที่มีภาระหนี้สูงก็เผชิญกับภาวะรายได้ลดลงในขณะที่มีอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น สิ่งนี้ย่อมจะก่อให้เกิดวัฎจักรที่เลวร้าย กล่าวคือ ทำให้ธุรกิจเอกชนต้องเลื่อนหรือหยุดการชำระหนี้แก่ธนาคาร NPL พุ่งสูงขึ้น สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ลดลง ทำให้ต้องลดสินเชื่อใหม่ต่อบริษัทที่ต้องการสภาพคล่อง ซ้ำร้ายกว่านั้นคือ อาจต้องเรียกสินเชื่อที่ดีกลับคืนเพื่อที่จะนำเงินมาเข้ากองทุนของธนาคารที่ลดลง ซึ่งวัฎจักรนี้เป็นการทำให้เกิดการถดถอยมากยิ่งขึ้นไปอีก

.

นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายการเงินและการปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดทำให้สินเชื่อโดยรวมทั้งระบบลดลง อันจะเป็นอุปสรรคต่อการอยู่รอดของบริษัทเอกชนด้วย ธนาคารจะได้รับข้อมูลข่าวสารของบริษัทเอกชนที่ถูกต้องลำบากขึ้นในภาวะการณ์นี้ ภายใต้สภาวการณ์ของความผันผวนของค่าเงิน และความผันผวนของราคาซึ่งจะส่งผลให้ขบวนการในการแยกแยะลูกหนี้ที่ดีออกจากลูกหนี้ที่ไม่ดีเป็นไปด้วยความยากลำบากด้วยความรวดเร็ว

.

ในการเพิ่มทุนของระบบการเงิน และการกระตุ้นให้มีการปล่อยสินเชื่ออีกครั้งในภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงจะมีผลโดยตรงต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจ การยกเว้นกฎเกณฑ์ควบคุมสถาบันการเงินบางประการอาจจำเป็นเพราะการเพิ่มทุนให้ได้พอเพียงต้องใช้เวลาที่นานพอสมควร ซึ่งทำให้การติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดมีความสำคัญ จนกว่าภาคการเงินแข็งแรงเช่นเดียวกับภาคธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นมาตรการเช่นการเลื่อนการเสียภาษีของธุรกิจที่เกิดจากการขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานทางบัญชีสำหรับการบันทึกการขาดทุนที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน และการจำกัดจำนวนสินเชื่อสำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกัน จะช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องได้ต่อไปในอนาคต

.

นอกจากนี้ ยังมีนโยบายที่สำคัญเช่น มาตรการที่จะช่วยสนับสนุนการประนอมหนี้โดยสมัครใจ การขจัดมาตรการที่ไม่จูงใจทางภาษีสำหรับการควบโอนกิจการ การเปิดเสรีการลงทุนของต่างชาติ การริเริ่มของรัฐบาลสำหรับแนวทางการเจรจาระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ และเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อที่จะให้สินเชื่อใหม่สำหรับการฟื้นฟูกิจการของบริษัทเอกชนให้เป็นหนี้ที่มีสิทธิเหนือหนี้เดิม โดยทั่ว ๆ ไป ประเทศในภูมิภาคได้ทำการปรับปรุงกฎหมายล้มละลายของตนเองเพื่อให้ธุรกิจเอกชนสามารถฟื้นฟูได้

.

ในขณะที่มาตรการเหล่านี้อาจจะช่วยบรรเทาการล้มละลายของบางธุรกิจได้ แต่มาตรการเหล่านี้นั้นไม่อาจจะช่วยบริษัทที่ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนอย่างมากและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจนทำให้มีหนี้สินสุทธิมากกว่าสินทรัพย์สุทธิ ซึ่งหากมีการล้มละลายในลักษณะนี้มากมายก็สามารถที่ทำให้ระบบการเงินพังลงมาได้ ในกรณีเช่นนี้รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคต้องเป็นผู้นำหลักที่จะปรับโครงสร้างระบบการเงินและภาคธุรกิจเอกชน การตัดสินใจนี้ขึ้นอยู่กับขีดความสามารถของรัฐบาลในการปรับปรุงองค์กรเอกชนและธนาคาร ซึ่ง ไทย เกาหลี และอินโดนีเซีย ได้เริ่มต้นในแนวทางเหล่านี้แล้ว

.

ปัญหาอีกประการที่เกี่ยวข้องคือ ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างรัฐวิสาหกิจ รัฐวิสาหกิจที่ดำเนินกิจการด้านไฟฟ้า ประปา และด้านอื่น ๆ ต่างก็ประสบกับความลำบากอันเนื่องมาจากอัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นภาระเพิ่มขึ้น ทำให้การจัดการด้านเงินทุนสำหรับรัฐวิสาหกิจเป็นภาระที่หนักมากสำหรับรัฐบาล นอกจากนี้ ประสิทธิภาพของระบบผูกขาดการเป็นหัวข้อที่รัฐบาลควรจะพิจารณา

.

อย่างไรก็ดี การแปรรูปไม่ใช่คำตอบสำหรับทุก ๆ อย่างความพยายามที่จะให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในรัฐวิสาหกิจบางสาขาก็ได้ทำให้ภาระหนี้ของประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากภาระที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนไป แต่โดยสรุปแล้วรัฐบาลสามารถบรรลุจุดประสงค์ของการหารายได้ให้แก่ภาครัฐ และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารรัฐวิสาหกิจด้วยการแปรรูปรัฐวิสาหกิจบางส่วนหรือทั้งหมดได้

.
3. การปกป้องคนยากจนและการร่วมกันฟื้นฟู

วิกฤตการณ์ในคราวนี้ได้ทำให้คนหลายล้านคนพบกับความยากจน ซึ่งการช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ก็ต้องพึ่งเศรษฐกิจที่ต้องกลับมาขยายตัวอีกครั้งเพราะนั่นจะ ก่อให้เกิดการจ้างงานและรายได้ อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบาย 6 ประเภทดังต่อไปนี้สามารถช่วยเหลือคนยากจนได้ กล่าวคือ

.
  • การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่ให้ความสำคัญต่อความยากจน เช่น มาตรการ กระตุ้นด้านการคลังที่อาจจะสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมที่ต้องใช้แรงงานเป็นหลัก (labor-intensive activities) ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยคนยากจนผู้ใช้แรงงาน ยังช่วยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้นด้วย  
  • การปกป้องเรื่องการอุปโภคบริโภคของคนยากจน รัฐบาลสามารถส่งเสริมให้อำนาจในการ ซื้อของที่จำเป็นของคนยากจนยังมีอยู่โดยอาจผ่านระบบการอุดหนุนเม็ดเงิน การสร้างงานให้กับสาธารณะ และการช่วยเหลือโปรแกรมด้านอาหารสำหรับคนยากจน
  • การช่วยเหลือแรงงานให้ทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถทำได้โดยส่งเสริมการจัด ฝึกอบรม และสนับสนุนให้ธุรกิจทางด้านฝึกอบรมให้มีการแข่งขัน หรือพัฒนาระบบการจัดคนเข้าทำงานให้เป็นระบบที่ดีขึ้น  
  • การช่วยให้คนยากจนคงไว้ซึ่งโอกาสที่จะได้รับการศึกษาและสาธารณสุขพื้นฐานที่พอเพียง  
  • การลงทุนในองค์กรท้องถิ่น และช่วยเหลือชุมชนในสังคมของประเทศ ซึ่งรัฐบาลต้อง สามารถเป็นผู้นำให้เกิดความเรียบร้อยในสังคม ดูแลเรื่องที่อาจจะเกิดความแตกแยกของคนในชาติอันจะนำไปสู่ความรุนแรงได้
  • การปรับปรุงประสิทธิภาพของนโยบายสำหรับคนยากจน ซึ่งต้องมีการศึกษาอย่าง พอเพียงในเรื่องต่าง ๆ เช่น การจัดทำข้อมูลของสถานการณ์เศรษฐกิจของคนยากจน การประเมินประสิทธิภาพของระบบสาธารณะพื้นฐาน และการพัฒนางบประมาณสำหรับคนยากจนให้ผู้กำหนดนโยบายได้รับข้อมูลที่จำเป็นอย่างพอเพียง

สิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้นซึ่งแม้ว่าไม่เกิดวิกฤตการณ์ก็ต้องมีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ในสถานการณ์วิกฤตของภูมิภาคที่ประสบกับภาวะหดตัว ทำให้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นความไม่แน่นอนของการประสบความสำเร็จในการแก้ไขวิกฤตการณ์ทำให้มาตรการข้างต้นจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจในอนาคตมีเสถียรภาพที่ดีขึ้นได้

.
4. การดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

การดำเนินการปรับโครงสร้างโดยรวมของภูมิภาคที่ได้ทำไปแล้วจำนวนมาก แต่ได้ถูกบดบังโดยกระแสของวิกฤตการณ์ของระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคที่นับวันยิ่งแย่ลง ซึ่งแม้แต่ประเทศบางประเทศที่ไม่ได้มีการหดตัวทางเศรษฐกิจ เช่น จีน และมองโกเลีย ก็ได้มีการเริ่มปรับโครงสร้างโดยรวมแล้วเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากภูมิภาคต้องการความเชื่อมั่นของนักลงทุน การปรับโครงสร้างโดยรวม 5 ประเด็น ก็เป็นสิ่งจำเป็น กล่าวคือ

.
  • การปรับโครงสร้างภาคการเงิน โดยรวมถึง การลดการมีส่วนรวมของภาครัฐในการกระจาย สินเชื่อ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบตรวจสอบ การพัฒนาเกณฑ์การจัดชั้นสินทรัพย์ และการกันสำรอง ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การเพิ่มเงินทุนของสถาบันการเงินให้พอเพียง ส่วนการเพิ่มความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลนั้นสามารถกระทำได้โดยเพิ่มบทบาทของกรรมการบุคคลภายนอก สร้างความแน่ชัดของบทบาทความรับผิดชอบทางกฎหมายของผู้จัดการของสถาบันการเงิน ลดข้อจำกัดการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติ และพัฒนากรอบกฎหมายสำหรับการจัดการสถาบันการเงินที่อ่อนแอ และสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
  • การพัฒนาประสิทธิภาพด้านการบริหารและการจัดการของบริษัทเอกชน โดยการเพิ่ม ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับบริษัทมหาชน ซึ่งอาจรวมถึงมาตรฐานการบัญชีที่เข้มงวดขึ้นเพื่อการตรวจสอบการทำงานของบริษัทตามกลไกตลาดทุนเป็นไปในทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาตลาดพันธบัตรของบริษัทเอกชนจะช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบการเงินในอนาคตได้ นอกจากนี้ การลดการพึ่งพาเงินกู้จากแหล่งธนาคารพาณิชย์ การกระจายความเสี่ยง การออกกฎหมายใหม่บางฉบับเพื่อควบคุมบริษัทมหาชนให้มีการจัดการและการตรวจสอบให้ดีขึ้น โดยการกำหนดให้มีกรรมการบุคคลภายนอก หรือมีการปกป้องการลงทุนของผู้ถือหุ้นรายย่อย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีทั้งสิ้น
  •  การลงทุนในทรัพยากรบุคคลและองค์กรที่ควบคุมทรัพยากรมนุษย์ กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการจ้างงานที่เคยเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีอาวุโสในการทำงานสูงกว่าต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการประกันเมื่อเกิดการว่างงาน ค่าตอบแทนของแรงงาน และโอกาสที่จะได้รับการฝึกอบรม ในระยะกลาง ประเทศในภูมิภาคนี้ต้องเพิ่มงบลงทุนด้านการศึกษาและสาธารณสุขเพราะประเทศที่มีระบบการศึกษาดีย่อมเพิ่มสมรรถภาพในการแข่งขันของประเทศนั้น นอกจากนี้ควรจะมีระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับคนสูงอายุ
  •  เรื่องสิ่งแวดล้อม แม้วิกฤตการณ์ทำให้ทุกคนลืมเรื่องสิ่งแวดล้อมไปบ้าง แต่อย่างไรก็ดี เมื่อรายได้ของประชาชาติลดลงมีผลทำให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในตัวของมันเอง ซึ่งจะทำให้การดำเนินนโยบายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมได้รับความร่วมมือมากขึ้นจากภาคธุรกิจ 
  • การพัฒนาการบริหารและการจัดการของภาครัฐ ซึ่งเป็นศูนย์รวมของการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 
.

5. การดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศสำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยที่การฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกคือ การเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคได้ดำเนินการเพื่อดึงดูดเงินทุนเหล่านั้นอยู่ โดยมีการปรับโครงสร้างธนาคารและบริษัทเอกชน มีการเปิดตลาดมากขึ้นเพื่อรองรับการลงทุนโดยตรงของต่างชาติ และคุ้มครองหนี้สินของต่างชาติในระบบการเงินเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อทุกคน

.

การร่วมมือกันระหว่างสถาบันการเงินระหว่างประเทศ รัฐบาลและธนาคารพาณิชย์จะช่วยดึงเงินทุนกลับเข้ามาในภูมิภาค โดยมีการคาดคะแนว่าถ้าต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ 1% ของ GDP ใน ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี จะต้องมีเงินทุนจากต่างชาติไหลเข้ามา 10 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งอาจดูว่าเงินจำนวนนี้น้อยเมื่อเปรียบเทียบว่าหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ได้มีการถอนเงินออกจากภูมิภาคนี้กว่า 100 พันล้านเหรียญ สรอ.

.

ในขณะที่รัฐบาลเริ่มมีการปรับโครงสร้างภาคการเงิน และเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่างชาติ สถาบันการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ ก็ควรที่จะร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ในการหาทางออกของการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีอยู่ในอัตราส่วนที่เหมาะสมเช่นกัน พร้อม ๆ ไปกับเคลื่อนย้ายเงินทุนกลับมายังภูมิภาคภายใต้สถาวะที่เงินทุนเป็นสิ่งจำเป็นในภาวะที่มีการถอนเงินทุนระยะสั้นออกไป แต่ในระยะยาวแล้ว การดึงดูดเงินทุนระยะยาว และการลงทุนโดยตรงของต่างชาติเป็นสิ่งจำเป็น และต้องมีการศึกษาหาทางป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ในลักษณะเช่นนี้อีก

.

โดยสรุปแล้ว วิกฤตการณ์ในภูมิภาคเอเซียตะวันออก ซึ่งหากเป็นเมื่อ 18 เดือนที่แล้ว ไม่เคยมีใครคิดว่าจะมีความรุนแรงได้เพียงนี้ ในความเป็นจริงทุกประเทศในเอเซียตะวันออกต่างก็ได้เปลี่ยนแนวทางปฏิบัติสำหรับการทำธุรกิจและการเมือง บริษัทเอกชนที่เคยสามารถกู้ยืมได้ไม่จำกัดโดยใช้เพียงการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลักประกันเงินกู้ก็ต้องเข้ากฎเกณฑ์ระเบียบใหม่ ธนาคารที่เคยกู้ยืมเป็นเงินเหรียญ สรอ. หรือเงินเยน โดยไม่มีการประกันความเสี่ยงอาศัยแต่ความเชื่อมั่นในระบบอัตราแลกเปลี่ยนของรัฐเป็นเครื่องมือประกันความเสี่ยงก็ต้องเข้ากฎเกณฑ์ระเบียบที่วางไว้ใหม่ บริษัทเอกชนและธนาคารจะมีการปรับโครงสร้างและเปลี่ยนแปลงเจ้าของดังเช่นที่เคยเกิดมาก่อนแล้วกับประเทศสหรัฐฯ

.

ในช่วงทศวรรษ 1930 และประเทศในแถบละตินอเมริกา ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงแม้ว่าอาจจะเร็วไปที่จะบอกว่าธนาคารและบริษัทเอกชนจะเปลี่ยนไป แต่การเพิ่มตัวแทนของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อย รวมทั้งต่างชาติกฎระเบียบที่ดีขึ้นในตลาดหุ้นและบริษัทเอกชนเอง รวมถึงการจัดการที่ดีขึ้นน่าจะนำมาซึ่งความเข้าใจที่ดีขึ้นระหว่างผู้ถือหุ้นและผู้บริหารของบริษัท ทำนองเดียวกันรัฐบาลและการจัดการภาครัฐก็ได้เปลี่ยนไปถึงแม้ว่าภาระที่หนักหนาจากการค้ำประกันหนี้บางส่วนของภาคธุรกิจเอกชน รัฐบาลก็ได้ปรับโครงสร้างของตนเองเพื่อที่จะลดภาระเหล่านี้ในอนาคต และลดบทบาทในเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร ท้ายที่สุดวิถีใหม่ของการจัดการตั้งแต่ตอนเหนือของภูมิภาค (เกาหลี) ไปจนถึงตอนใต้ของภูมิภาค (อินโดนีเซีย) น่าจะเป็นหนทางใหม่สู่ความเปิดเผยโปร่งใสและเชื่อถือได้ การเริ่มต้นสำหรับการฟื้นตัวได้ถูกกำหนดแนวทางไว้แล้ว

.

ที่มา : http://www.mof.go.th/fpobul/FFU012.htm