กรีนพีซี้ อุตสาหกรรมต้องเปิดเผย มลพิษไม่ใช่ความลับ จี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเร่งแก้ปัญหาสารพิษในแหล่งน้ำ เริ่มต้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา
กรีนพีซชี้ “อุตสาหกรรมต้องเปิดเผย มลพิษไม่ใช่ความลับ” จี้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเร่งแก้ปัญหาสารพิษในแหล่งน้ำ เริ่มต้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา |
. |
. |
นักกิจกรรมกรีนพีซ 20 คนร่วมรณรงค์ปัญหามลพิษทางน้ำในประเทศ โดยแขวนป้ายผ้าที่มีข้อความว่า “อุตสาหกรรมต้องเปิดเผย มลพิษไม่ใช่ความลับ” บนอาคารสำนักงานกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมจี้ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมเร่งแก้ปัญหาสารพิษในแหล่งน้ำโดยเริ่มต้นจากแม่น้ำเจ้าพระยา |
. |
กรีนพีซเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ริเริ่มพัฒนากฎหมายควบคุมการปล่อยมลพิษ ที่บังคับให้โรงงานอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลการใช้ การขนย้ายและการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมออกสู่สิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการใช้สารพิษในทุกขั้นตอนการผลิต |
. |
นักกิจกรรมได้นำตัวอย่างน้ำปริมาณ 2 ลิตร จำนวน 2 ขวด ที่เก็บมาจากคลองสำโรง และคลองบางนาเกร็งซึ่งเป็นคลองรับน้ำทิ้งจากโรงงานนับร้อยแห่ง เป็นตัวอย่างของคลองหลายสิบแห่งในแม่น้ำเจ้าพระยาที่กลายเป็นที่ทิ้งน้ำเสียจากโรงงาน มามอบให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไป |
. |
“แม่น้ำของเรา โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยา ได้กลายเป็นที่รองรับน้ำทิ้งปนเปื้อนสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมมานานกว่า 2 ทศวรรษ ซึ่งไม่รู้ว่าปริมาณการสะสมของสารพิษชนิดต่างๆ ในแหล่งน้ำ ดินหรือแม้แต่ในสัตว์น้ำมีปริมาณเท่าใด นับเป็นความเสี่ยงอย่างสูงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของพวกเราขณะนี้ |
. |
เราทุกคนกำลังตกอยู่ในความมืดบอด จากการถูกปิดกั้นมิให้เข้าถึงข้อมูลมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในแง่ชนิดและปริมาณที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ” นายพลาย ภิรมย์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสารพิษ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าว |
. |
“เราเรียกร้องให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำจากโรงงานอุตสาหกรรมโดยเร่งด่วน และขอเรียกร้องให้คุณประพัฒน์ วนาพิทักษ์ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ริเริ่มการวางแผนพัฒนาด้านอุตสาหกรรมของไทยให้ก้าวไปสู่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด โดยเริ่มจากการกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมลดการใช้สารพิษในกระบวนการผลิต |
. |
รวมถึงการสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายให้ภาคอุตสาหกรรมเปิดเผยข้อมูลมลพิษ หรือทำเนียบการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR) ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในการรับรู้ข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลด้านมลพิษที่ปล่อยมาจากภาคอุตสาหกรรม” นายพลายกล่าวเสริม |
. |
แต่ละปี โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย ผลิตและนำเข้าสารเคมีกว่า 30.4 ล้านตัน ในจำนวนนั้น เป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งถึงประมาณ 8 แสนตัน (1) สารเคมีอันตรายเหล่านี้มักปนเปื้อนมากับน้ำทิ้งและปล่อยสู่แหล่งน้ำหลังผ่านกระบวนการผลิต ผลการศึกษาของกรีนพีซตลอดหลายปีที่ผ่านมา |
. |
(2) พบว่าส่วนใหญ่น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมประกอบด้วยสารพิษอันตรายซึ่งล้วนไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หลายประเภทสามารถไม่ย่อยสลายและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษทางน้ำมีสาเหตุมาจากการขาดมาตรการป้องกันมลพิษที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการที่ภาคอุตสาหกรรมยังคงใช้สารเคมีอันตรายในกระบวนการผลิต และกลวิธีสกปรก (3) ในการลักลอบปล่อยน้ำทิ้งปนเปื้อนสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ |
. |
ถึงแม้ว่าปัจจุบันมีกฎหมายที่ระบุให้โรงงานอุตสาหกรรมแสดงรายชื่อสารพิษที่ใช้และปริมาณการปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อมให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับโดยตรงที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลการใช้สารพิษอันตราย การขนย้าย รวมถึงการปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ไม่มีรู้ว่ามีสารพิษชนิดใดบ้างและปริมาณเท่าใดที่ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำในแต่ละปี |
. |
“การเปิดเผยข้อมูลสารพิษและสิทธิการเข้าถึงข้อมูลยังไม่เป็นธรรมเนียมปฎิบัติในประเทศไทย คนส่วนใหญ่จึงมองข้ามความรุนแรงของปัญหามลพิษรวมทั้งความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลสารพิษ ซ้ำร้าย ข้อมูลที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รวบรวมไว้นั้นยังถือเป็น “ความลับของโรงงานอุตสาหกรรม” ที่ไม่สามารถเปิดเผยสู่สาธารณะได้ |
. |
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยควรนำระบบ PRTR หรือทำเนียบการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมมาใช้ ซึ่งนอกจากจะเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้เกิดกระบวนการลดมลพิษในภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังสามารถส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปัญหามลพิษและสร้างกระบวนการเรียนรู้และเสริมความเข้มแข็งของชุมชนอีกด้วย” นายพลายกล่าวสรุป |
. |
ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมนี้ หน่วยศึกษาและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำของกรีนพีซจะเริ่มเก็บตัวอย่างน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อตรวจสอบคุณภาพ โดยจะเน้นไปที่การตรวจหาสารเคมีที่สะสมไม่ย่อยสลายและมีความเป็นพิษสูงในแหล่งน้ำ รวมถึงตะกอนในน้ำ โดยจะเริ่มเก็บตัวอย่างที่คลองต่างๆในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งเป็นที่ทิ้งน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง |
. |
กรีนพีซทำงานรณรงค์ด้วยหลักการเผชิญหน้าอย่างสันติวิธี นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสันติภาพ |
. |
หมายเหตุ |