วัสดุเสริมแรงกลาสไฟเบอร์ GFRP Rebar (Glass Fiber Reinforced Polymer Rebar)
วัสดุเสริมแรงที่ผลิตขึ้นมาจากขบวนการดึงขึ้นรูป และเคลือบผิวด้วยเม็ดทราย เพื่อทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวกับคอนกรีตได้อย่างดีวัสดุเสริมแรงกลาสไฟเบอร์ ประกอบด้วย เส้นใยกลาสไฟเบอร์ที่ทนแรงดึงสูงกับสารประกอบไวนีลเอสเตอร ์เรซิ่นที่มีความคงทนยิ่งยวดดังนั้นวัสดุเสริมแรงกลาสไฟเบอร์จึงสามารถเพิ่มอายุ
ุการใช้งานให้โครงสร้างคอนกรีตในงานวิศวกรรมโยธาต่าง ๆ
เหตุที่วัสดุเสริมแรงกลาสไฟเบอร์จึงเหนือกว่าเหล็กเสริมที่เคลือบด้วยอีพ็อกซี่:
- ไม่ถูกกัดกร่อน ไม่เป็นโลหะ และไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
- ทนแรงดึงสูงกว่าเหล็กถึงสองเท่า
- มีค่าโมดูลัสความยืดหยุ่นคงที่
- มีน้ำหนักน้อยกว่าเหล็กสี่เท่า
- ค่าสัมประสิทธิ์การยืดตัวใกล้เคียงกับคอนกรีต
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเหล็กเสริมคอนกรีตแล้ว วัสดุเสริมแรงกลาสไฟเบอร์จึงเหมาะสมกว่าเหล็กในงานต่าง ๆ ดังนี้
- งานคอนกรีตที่มีผิวต้องสัมผัสกับน้ำทะเล: เช่นท่าเทียบเรือ, สะพานเทียบเรือ, กำแพงกันคลื่นในทะเล, โครงสร้างลอยน้ำในทะเล, อาคารที่สร้างใกล้กับชายทะเล ฯลฯ
- โครงสร้างคอนกรีตที่ต้องทนการกัดกร่อน: เช่นบ่อบำบัดน้ำเสีย, โรงงานปิโตรเคมี, เหมืองแร่, โรงปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เป็นต้น
- โครงสร้างที่ต้องการความเป็นตัวนำไฟฟ้าหรือแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำ: เช่นบ่อพักงานไฟฟ้าหรือโทรศัพท์, หอบังคับการบิน, ห้องตรวจคลื่นสมอง (MRI Room) ในโรงพยาบาล
- งานโครงสร้างคอนกรีตชั่วคราว: เช่นส่วนที่ต้องเจาะออก (Soft-Eye) ในไดอะแฟรมวอลล์ของอุโมงค์ใต้ดิน, ปล่องที่ใช้ทำงานชั่วคราวในแนวดิ่ง, กำแพงในงานเหมืองแร่, สลักยึดหินที่ใช้เพื่องานชั่วคราว ฯลฯ.
สลักยึดหินกลาสไฟเบอร์ (GFRP Rock Bolt)
สลักยึดหินกลาสไฟเบอร:์ถูกผลิตให้ผิวนอกมีลักษณะเป็นปล้องและหยาบ เพื่อเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างวัสดุประสาน (Grouting) กับท่อนเสริมแรงกลาสไฟเบอร์
ข้อได้เปรียบของสลักยึดหินกลาสไฟเบอร์:
- วัสดุทนกำลังดึงสูงและมีความแกร่ง
- สามารถยึดเกาะ (Bonding) ได้ดี
- ไม่ถูกกัดกร่อน, ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า
- ทนไฟ และทนต่อการเกิดไฟฟ้าสถิตย์
- ตัดง่ายโดยไม่เกิดประกายไฟ
- น้ำหนักเบา เก็บรักษา และขนส่งง่าย
- ติดตั้งได้ง่ายโดยเครื่องมือธรรมดา