นายสุภศักดิ์ กฤษณามระ กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากรายงาน ดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตทั่วโลกปี 2559 (2016 Global Manufacturing Competitiveness Index : GMCI) ซึ่งจัดทำโดย กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ของดีลอยท์ โกลบอล ( Deloitte Global Consumer & Industrial Products Industry group) และ คณะกรรมการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐ (US Council on Competitiveness) ระบุว่า กลุ่ม MITI-V (Mighty 5) หรือ 5 ชาติเอเชียที่ประกอบด้วย มาเลเซีย(M), อินเดีย(I) ,ไทย(T), อินโดนีเซีย(I) และเวียดนาม (V) มีแนวโน้มจะผงาดขึ้นมาติดกลุ่ม 15 อันดับประเทศที่ความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตของโลก ภายในปี 2563 และน่าจะขึ้นมาแทนที่จีนได้ พิจารณาจากแรงงานต้นทุนต่ำ ความสามารถคล่องตัวด้านการผลิต โครงสร้างด้านประชากรศาสตร์ รวมถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
ทั้งนี้การคาดการณ์ข้างต้น ได้มาจากการวิเคราะห์เชิงลึกจากการสำรวจประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ผู้นำระดับสูงของบริษัทในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกกว่า 500 ราย และจากการรวบรวมข้อมูล ในรายงาน ปี 2553 และปี 2556 อ้างความเห็นของผู้บริหารจากประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตในปัจจุบันและอนาคต 40 อันดับแรก และยังได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในเรื่องความสามารถแข่งขันด้านการผลิตทั่วโลกในอันดับต้นๆอีกด้วย (ตามตารางจัดอันดับ)
นายสุภศักดิ์กล่าวว่าถึงแม้อันดับความสามารถในการแข่งขันของ 4 ประเทศ MITI-V ยกเว้นเวียดนาม โดยรวมระหว่างปี 2556 และ 2559 จะลดลง แต่เมื่อมองภาพรวมกลุ่มประเทศ MITI-V อาจเห็นประเทศเหล่านี้เป็นทางเลือกดึงดูดใจในแง่การเติบโตของตลาดและเศรษฐกิจรวมถึงการขยายตัวของฐานผู้บริโภค “กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทยและเวียดนาม ยังคงดึงดูดความสนใจของผู้ผลิตทั่วโลก ที่มองหาทางเลือกอื่นนอกจากจีน โดยสามารถใช้ประโยชน์ จากแรงงานที่มีทักษะ และความสามารถในการผลิตของแรงงานมีมากขึ้น รวมถึงต้นทุนแรงงานการผลิตที่ต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับจีน” นายสุภศักดิ์ กล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า “ความได้เปรียบอื่นๆที่กลุ่มประเทศ MITI-V มีให้ผู้ผลิตทั่วโลกนั้น รวมถึงแรงจูงใจทางภาษีมีมากมาย ทั้งระยะการปลอดภาษี 3 -10 ปี การยกเว้นภาษี หรือลดภาษีนำเข้า และการลดภาษีสินทรัพย์ประเภททุน และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเกี่ยวข้องกับการส่งออก”
ในระดับโลกคาดว่าสหรัฐจะขึ้นเป็นประเทศมีขีดความสามารถแข่งขันทางการผลิตมากที่สุด ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจีนซึ่งปัจจุบันอยู่อันดับหนึ่งจะหล่นลงมาอยู่อันดับ2 นายสุภศักดิ์ กล่าวว่า คำว่า “เมดอินยูเอสเอ” กำลังจะหวนกลับมา ตรงข้ามกับมุมมองที่ว่า การผลิตในสหรัฐลดลงตลอดเวลา การผลิตในอนาคตจะต้องมีเทคโนโลยีก้าวหน้า มีการเจริญเติบโตโดยใช้นวัตกรรมในการผลิต การผลิตจะเน้นความยั่งยืน ความอัจฉริยะและความปลอดภัย ซึ่งคาดว่าสหรัฐจะเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนโฉมของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต
บรรดาซีอีโอให้ความเห็นในรายงานว่า เทคโนโลยีการผลิตที่มีความก้าวหน้าจะเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล๊อคขีดความสามารถแข่งขันในอนาคต และจากคาดการณ์เชิงวิเคราะห์ ชี้ว่าการเชื่อมโยงเครือข่ายผ่านเทคโนโลยีอินเตอร์เนต ที่เรียกว่า Internet of Things (IoT) ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและโรงงานอัจฉริยะ ที่เป็นตัวกำหนด Industry 4.0 และวัตถุก้าวหน้าล้ำสมัยต่างๆ ซึ่งกลุ่มผู้บริหารมองว่าสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการผลิตทั่วโลก
กรรมการผู้จัดการ ดีลอยท์ (ประเทศไทย) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันสหรัฐอยู่ในกลุ่มประเทศอันดับ ต้นๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตทันสมัยล้ำหน้า รวมถึงโรงงานและสินค้าอัจฉริยะ การคาดการณ์เชิงวิเคราะห์และวัตถุต่างๆที่ล้ำหน้าทันสมัย ล้วนเป็นหัวใจสำคัญต่อความสามารถแข่งขันในอนาคตความล้ำหน้าของสหรัฐ อยู่ที่การสร้างความเชื่อมโยงผนึกรวมบุคลากร เทคโนโลยี เงินทุนและองค์กร ไว้ด้วยกัน และสร้างให้เกิดรูปแบบการจัดการระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ก่อให้เกิดคุณค่ามากมายจากการลงทุนพัฒนาและวิจัย
นายสุภศักดิ์ให้ความเห็นด้วยว่า เศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ได้เปรียบประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าหลายเรื่อง ทั้งแรงงานและต้นทุนวัตถุ ส่วนประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าก็ได้เปรียบในแง่ของความสามารถและความมีประสิทธิภาพของแรงงาน สิงคโปร์เป็นประเทศที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งผลิตต้นทุนค่อนข้างสูงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังคงติดกลุ่มประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงสุดในภูมิภาคในอนาคต ด้วยเพราะแรงงานที่มีการศึกษาสูง บรรยากาศการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับการลงทุน แรงจูงใจให้ทำวิจัยและพัฒนามีมากมาย สาธารณูปโภคโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง และมีธรรมาภิบาลที่ดี เส้นทางของภาคการผลิตของสิงคโปร์จะได้แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนในบุคคลากรมีความสามารถและนวัตกรรม
ดัชนีความสามารถแข่งขันการผลิตทั่วโลกปี2559
ปัจจุบัน |
คาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้า |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
ปัจจัยขับเคลื่อนขีดความสามารถแข่งขันการผลิตทั่วโลก
อันดับปี 2559 |
|
บุคคลากรมีความสามารถ |
1 |
ความสามารถแข่งขันในด้านต้นทุนการผลิต |
2 |
ความสามารถและประสิทธิภาพของแรงงาน |
3 |
เครือข่ายผู้ผลิต |
4 |
ระบบของกฎหมายและกฎข้อบังคับต่างๆ |
5 |
โครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา |
6 |
โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ |
7 |
ระบบภาษี การเงิน การค้า เศรษฐกิจ |
8 |
นโยบายนวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน |
9 |
นโยบายพลังงาน |
10 |
ความน่าดึงดูดใจของตลาดท้องถิ่น |
11 |
ระบบสาธาณสุข |
12 |
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด