หุ่นยนต์ให้ความคล่องตัวและประสิทธิภาพแก่อุตสาหกรรมเภสัชกรรมของไทย ท่ามกลางความต้องการของตลาดที่ถีบตัวสูงขึ้น และวงจรชีวิตสินค้าที่สั้นลงอย่างรวดเร็ว
เชอร์มีน ก็อตเฟรดเซ็น ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ยูนิเวอร์แซล โรบอทส์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
อุปสงค์ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
ประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์และมาเลย์เซีย อัตราการเติบโตของการยอมรับการลงทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่างเพิ่มขึ้น ดังข้อมูลของสมาพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (IFR) ปรากฎว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วในแถบเอเชียด้วยตัวเลขประเมินจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสต็อกที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างน้อย 4,000 ยูนิตนับแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560[1] ผู้ผลิตต่างสนใจลงทุนกับเทคโนโลยีนี้เพราะมีข้อได้เปรียบเชิงธุรกิจหลายประการ เช่น เพิ่มศักยภาพการผลิต และลดค่าใช้จ่าย
ภาคส่วนสาธารณสุขของไทยเติบโต
เมื่อปีพ.ศ. 2545 ที่ไทยเปิดตัวโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประชากรไทยได้รับการประกันสุขภาพ ปลุกเร้าการเติบโตธุรกิจเภสัชกรรม ให้กลายมาเป็นตลาดขนาดใหญ่เป็นที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน คาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องมีขนาดเป็นสองเท่าภายในปี พ.ศ. 2563 เวลานี้ อุตสาหกรรมยาและเภสัชกรรมเติบโตรับความต้องการภายในประเทศและการส่งออก
การส่งออกเภสัชกรรมมีมูลค่าประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งไปยังประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น เวียตนามและกัมพูชา ภายในปี พ.ศ. 2563 จะมีผู้มีอายุ 60ปีเป็น 18% ของจำนวนประชากรในประเทศ เทียบอัตราส่วนกับประชากรวัยทำงาน 6:1[2] ดังนั้น จากจำนวนประชากรสูงอายุของประเทศที่เพิ่มขึ้นคาดได้ว่าส่งผลต่อการเติบโตในภาคส่วนสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง
ภาครัฐฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพของอุตสาหกรรมสาธารณสุข เห็นได้จากงบประมาณสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณภาพ (value chain)[3] มุ่งหวังให้ก้าวทันความต้องการที่ขยายตัว ดังนั้น ผู้ผลิตทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต้องเร่งเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตด้วยเช่นกัน ซึ่งถือว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นกุญแจสำคัญสำหรับผู้ผลิตในการเข้าโค้งสู่เส้นชัย
พัฒนาการของหุ่นยนต์
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์ได้ปลดลูกตุ้มน้ำหนักรวมทั้งลดอัตราก๊าซคาร์บอนของหุ่นยนต์ แขนกลหุ่นยนต์ที่รับน้ำหนักได้ (payload) 3 ก.ก. มีน้ำหนักเพียง 11 ก.ก. เท่านั้น และปริมาณก๊าซคาร์บอนเพียง 5 นิ้ว เรื่องของความปลอดภัยก็เป็นอีกประเด็นที่ไม่ต้องกังวลเย ด้วยฟีเจอร์ที่ฝังมากับในแขนกลที่สามารถรับสัมผัสแรงกระแทก ซึ่งหุ่นยนต์จะหยุดการเคลื่อนไหวเมื่อสัมผัสสิ่งสัมผัสกีดขวางเส้นทางการเคลื่อนที่ ทำให้รั้วกั้นเพื่อความปลอดภัยก็จะไม่ใช่เรื่องจำเป็นอีกต่อไป หลังจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว
ประโยชน์ที่โดดเด่นเช่นนี้ทำให้หุ่นยนต์เหมาะอย่างยิ่งต่อการใช้งานในการผลิตทางเภสัชกรรม ภายในพื้นที่การผลิตที่มีความหนาแน่นของคนต่อตารางฟุตสูง เพราะอาศัยคนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ความท้าทายเช่นนี้สามารถจัดการได้ด้วยหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้ ทำงานคู่ไปกับคนผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์จึงเป็นตัวผลักดันกำลังการผลิต เพิ่มความคล่องตัวในโรงงานในส่วนต่างๆ เช่น การประกอบชิ้นส่วนและบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ การเตรียมใบสั่งจ่ายเภสัชการสำหรับร้านขายยาและโรงพยาบาล
หุ่นยนต์เพื่อการผลิตในภาคส่วนงานสาธารณสุข
ศักยภาพและคุณภาพของการผลิตจะเกิดประโยชน์เมื่อติดตั้งหุ่นยนต์ในจุดต่างๆ อย่างมีกลยุทธ์บนสายพานการผลิตซึ่งต้องใช้ความเที่ยงตรงแม่นยำ เช่น งานผลิตเครื่องช่วยฟัง ซึ่งขนาดของคอมโพเน้นท์ที่จำเป็นต้องใช้มีขนาดเล็กมาก ท้าทายศักยภาพการผลิตที่ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งเป็นจุดที่หุ่นยนต์สามารถเข้ามาช่วยจัดการกับชิ้นส่วนที่มีขนาดเป็นเพียงมิลิเมตรเท่านั้นได้ด้วยความแม่นยำ ไม่ก่อความเสียหายต่อองค์ประกอบสำคัญๆ อื่นที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้ไม่ลดคุณภาพและยังเร่งอัตราความเร็วในการผลิตได้อีกด้วย หุ่นยนต์ทำงานได้เร็วเพียงไม่กี่วินาทีต่อรอบเท่านั้น ขึ้นอยู่กับการบริหารสายการผลิตและคอมโพเน้นท์ที่ใช้งาน
นอกจากนี้ หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ติดตั้งใช้ในโรงงานนั้นสามารถทำการตั้งโปรแกรมได้งาย คล่องตัวและยืดหยุ่นในการใช้งาน เคลื่อนย้ายสะดวก ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อย มีฟีเจอร์และอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายแบบบิลท์อิน ทำให้ผู้ผผลิตได้เปรียบอย่างยิ่งยามต้องตัดสินใจเชิงธุรกิจสามารถก้าวกระโดดได้รวดเร็วรองรับวิศวกรรมการแพทย์ และหมายถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง กระบวนการผลิตต้องเผชิญการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตอบสนองทั้งคอมโพเน้นท์ใหม่ที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา และรับขนาดที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ยาปริมาณเพียงเล็กน้อย จนถึงแคปซูลขนาดใหญ่ เป็นการช่วยลดเวลาในการวางสินค้าออกสู่ตลาด และกำจัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องลงไปกับการปรับปรุงยกเครื่องสายพานการผลิต
อนาคตสดใส
ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขที่กำลังขยายตัว ส่งสัญญานมายังภาคส่วนเภสัชกรรมให้เร่งพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการผลิต และความสามารถในการแข่งขัน ตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้น และรักษาตำแหน่งผู้นำในการส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมให้ดี อัตราการเติบโตและตำแหน่งทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสาธารณสุขของประเทศในทศวรรษต่อไปน่าจะขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตเลือกที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ในธุรกิจของตนเองหรือไม่นั่นเอง
[1] International Federation of Robotics, 2014 http://www.ifr.org/industrial-robots/statistics/)
[2] Bangkok Post, April 2013 http://www.bangkokpost.com/tech/local-news/346542/thailand-robot-revolution-is-rising
[3] Pharmaphorum, April 2014 http://www.pharmaphorum.com/articles/thailand-pharmaceutical-market-update-2014
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด