ดร.มารุต มณีสถิตย์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และพม่า
บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ พีทีอี ลิมิเต็ด
บุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นับเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและมีมูลค่าค่าจ้างที่สูงขององค์กร อย่างไรก็ดีผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมไอทีชี้ว่าเกือบร้อยละ 30 ของเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้านไอทีนั้นใช้ไปกับงานทั่วไปที่จำเจและไม่สร้างสรรค์ ซึ่งนั่นไม่เพียงหมายถึงมูลค่าเงินขององค์กรที่เสียเปล่า หากยังนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ อาทิ มีการประมาณว่าเกือบร้อยละ 40 ของความขัดข้องในระบบไอทีเกิดการความผิดพลาดของบุคลากรที่มีวิจารณญาณถดถอย เนื่องจากความเบื่อหน่ายในการทำงาน และความขัดข้องดังกล่าวสามารถสร้างความเสียหายที่มีมูลค่าสูงได้ นอกจากการเสื่อมเสียชื่อเสียงขององค์กรซึ่งเกิดจากเหตุผิดพลาดด้านไอทีแล้ว มูลค่าของการ Downtime ที่เสียไปโดยไม่มีการวางแผนรับมือล่วงหน้าอาจสูงถึง 5–7 พันเหรียญสหรัฐต่อนาที
ส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าวคือ ในปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีส่วนมากต่างติดอยู่กับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของข้อมูลขนาดใหญ่ อีกทั้งความคาดหวังของผู้ใช้งานในองค์กรที่ต้องการเข้าถึงข้อมูล และใช้แอพพลิเคชั่นตลอดเวลาแบบเรียลไทม์ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีดั้งเดิมนั้น อาศัยระบบฮาร์ดแวร์ในการขับเคลื่อนเป็นหลัก ทำให้ขาดความยืดหยุ่น และหากต้องการเปลี่ยนแปลงจะต้องอาศัยการปรับรื้อระบบใหม่ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการมีมูลค่าสูงเกินรับได้ ผลลัพธ์ดังกล่าวทำให้การสรรสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้เป็นเรื่องยาก จนกลายเป็นความซับซ้อน และต้นทุนที่มีมูลค่าสูงในระบบไอทีจะกลายเป็นเรื่องสูญเปล่า
ระบบอัตโนมัติและกำหนดด้วยซอฟต์แวร์เพื่อสร้างนวัตกรรม
เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าว องค์กรจะสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่มีอยู่เดิม และมีอิสระในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีโดยเปลี่ยนให้ระบบการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติจะช่วยแก้ปัญหาด้านไอทีอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ลดค่าใช้จ่ายจากข้อผิดพลาดของบุคลากรและทำให้สามารถทุ่มเทกับงานหรือนวัตกรรมที่ช่วยสร้างรายได้ให้ธุรกิจได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการบริหารระบบไอที
การกำหนดระบบด้วยซอฟต์แวร์ หรือ Software-defined คือการใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมด ช่วยให้ทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ โดยมีคนมาเกี่ยวด้วยน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การนำความสามารถของซอฟต์แวร์มากำหนดความต้องการของแอพลิเคชั่นจากโครงสร้างพื้นฐานทำให้ฮาร์ดแวร์สามารถปรับตัวเองให้เหมาะสมเพื่อรองรับกับความต้องการใหม่ ๆ ช่วยให้การถ่ายโอนข้อมูลไม่กระทบกับการทำงานโดยรวมของระบบ โดยซอฟต์แวร์จะเป็นตัวดำเนินการทั้งหมด
การทำให้สินทรัพย์ไอทีเป็นระบบเสมือน (Virtualization) จะทำให้ระดับการบริการด้านไอทีสามารถปรับได้ตามรูปแบบความต้องการของแอพพลิเคชั่น อย่างไรก็ดีการจะใช้เทคโนโลยีระบบเสมือนให้คุ้มค่าสูงสุด ไม่เพียงแต่จะช่วยสร้างระบบการทำงานให้ง่ายขึ้นเป็นระบบอัตโนมัติ แต่ต้องสามารถให้องค์กรสามารถเข้าถึงข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์เชิงลึกและนำมาใช้ประโยชน์ได้ พร้อมเปลี่ยนสินทรัพย์ถาวรให้กลายเป็นทรัพยากรที่มีความยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านไอทีสามารถมีโอกาสสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้มากขึ้น
สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีอย่างไร
การตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของธุรกิจอย่างฉับไว การบริหารจัดการประสิทธิภาพ การสร้างความพร้อมทำงานของระบบ ความปลอดภัย และการปกป้องข้อมูล เป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดของฝ่ายสารสนเทศในปัจจุบัน การใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวกำหนดการทำงานของทรัพยากรในโครงสร้างพื้นฐานระบบไอที จะเป็นกลยุทธ์ที่จะเข้ามาในยุคข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นนี้ โดยมีคุณสมบัติแปลงสินทรัพย์ไอทีทางกายภาพให้เป็นระบบเสมือน ทำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยสามารถประยุกต์คล้าย ๆ Template (Abstract) ที่คล้าย ๆ กันเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจ ในการ Deploy แอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น การเข้าถึงข้อมูล (Access) และระบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อช่วยให้ผู้บริหารด้านการจัดเก็บข้อมูล (ซึ่งปัจจุบันควรจะมีการพัฒนาทักษะในด้านการบริหาร ระบบเสมือน หรือ Virtualization มากกว่าทักษะด้านการจัดเก็บข้อมูล) สามารถตอบโจทย์ความต้องการตรงนี้ได้
ทั้งนี้ กลยุทธ์ดังกล่าว รวมถึงโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์และขับเคลื่อนโดยแอพพลิเคชั่น หรือ Software-defined Infrastructures (SDI) ที่ทางฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ (HDS) เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีระบบซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Storage Virtualization Operating System–SVOS ที่ครอบคลุมระบบ Hitachi Virtual Storage Platform (VSP G-Series) Family ในทุก ๆ รุ่น เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจให้ทุกขนาดองค์กร ลูกค้าที่ต้องการระบบที่มีขนาดเล็กลง ปัจจุบันสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นได้ เช่นเดียวกับที่มีอยู่ในระบบสตอเรจระดับสูงของ HDS ซึ่งได้รับตำแหน่งผู้นำด้านผลิตภัณฑ์ จากคะแนนสูงสุดในการทดสอบการทำงาน/Use-case Specific Scores จาก Critical Capabilities for General-Purpose, High-End Storage Arrays ของการ์ทเนอร์ ซึ่งการนำไปใช้งานจริงที่พิสูจน์ถึงศักยภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ อาทิ กลุ่มบริษัท Asia Capital Reinsurance ได้นำ Hitachi Unified Compute Platform (UCP) สำหรับ SAP HANA ซึ่งเป็นโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานแบบคอนเวิร์จ (Converged Infrastructure–CI) ของ HDS ประกอบด้วย อุปกรณ์ Appliance ที่รวมระบบ เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์กสวิตช์ และระบบจัดเก็บข้อมูลในเครือข่าย (SAN Storage) ไปใช้รวมระบบธุรกิจและคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากการวิเคราะห์ข้อมูลบิ้กดาต้า จนสามารถลดความล่าช้าที่เกิดจากช่วงเวลาการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์ได้จนสามารถพัฒนาไปเป็นข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงลึกได้เกือบจะทันที
โดยสรุป คือผู้บริหารระบบยังคงต้องจัดการแพลต์ฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้จะมีการเพิ่มโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์มารองรับการรูปแบบเชิงขยาย และการจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ แต่ด้วยคุณสมบัติการ Abstract, Access และ Automation ของซอฟต์แวร์ที่กล่าวมา จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเชื่อมระบบเก่าและใหม่ให้ราบรื่น เพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นของระบบไอทีเพื่อช่วยเร่งการสร้างนวัตกรรมและผลลัพธ์ทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกในการทำงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารระบบในการจัดการระบบต่าง ๆ และผู้ใช้ในการเข้าถึงการบริการ รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจเชิงลึกที่ประกอบขึ้นจากข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 www.thailandindustry.com
Copyright (C) 2009 www.thailandindustry.com All rights reserved.
ขอสงวนสิทธิ์ ข้อมูล เนื้อหา บทความ และรูปภาพ (ในส่วนที่ทำขึ้นเอง) ทั้งหมดที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ www.thailandindustry.com ห้ามมิให้บุคคลใด คัดลอก หรือ ทำสำเนา หรือ ดัดแปลง ข้อความหรือบทความใดๆ ของเว็บไซต์ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ ดัดแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด